Pioglitazone และความเสี่ยงมะเร็งในผู้ป่วยเบาหวาน

Pioglitazone และความเสี่ยงมะเร็งในผู้ป่วยเบาหวาน

JAMA. 2015;314(3):265-277.

บทความเรื่อง Pioglitazone Use and Risk of Bladder Cancer and Other Common Cancers in Persons with Diabetes รายงานว่า เนื่องจากหลายการศึกษาชี้ว่า pioglitazone อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง การศึกษานี้จึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ pioglitazone ในโรคเบาหวานต่อความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งที่พบบ่อย 10 ประเภท

การศึกษามีขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยกลุ่มมะเร็งกระเพาะปัสสาวะประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง 193,099 ราย ซึ่งมีอายุ 40 ปีหรือมากกว่าในปี ค.ศ. 1997-2002 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2012 และติดตามตัวแปรกวนในผู้ป่วย 464 ราย และกลุ่มควบคุม 464 ราย และกลุ่มวิเคราะห์มะเร็ง 10 ประเภทประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง 236,507 ราย ซึ่งมีอายุ 40 ปีหรือมากกว่าในปี ค.ศ. 1997-2005 และติดตามถึงมิถุนายน ค.ศ. 2012 โดยข้อมูลกลุ่มตัวอย่างได้จาก Kaiser Permanente Northern California

การศึกษาได้ติดตามประวัติการใช้ยา ระยะเวลาที่ใช้ยา ขนาดสะสม และระยะเวลานับตั้งแต่เริ่มใช้ pioglitazone ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเกิดมะเร็งรวมถึงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, ต่อมลูกหมาก, เต้านม, ปอด/หลอดลม, เยื่อบุโพรงมดลูก, ลำไส้ใหญ่, ต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin, ตับอ่อน, ไต/กรวยไต, ไส้ตรง และ melanoma

จากกลุ่มตัวอย่าง 193,099 รายในกลุ่มมะเร็งกระเพาะปัสสาวะพบว่า 34,181 ราย (18%) ได้รับ pioglitazone (มัธยฐานเวลา 2.8 ปี; พิสัย 0.2-13.2 ปี) และ 1,261 รายเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยอุบัติการณ์อย่างหยาบของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในผู้ใช้ยา pioglitazone และผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาเท่ากับ 89.8 และ 75.9 per 100,000 person-years ตามลำดับ และประวัติเคยใช้ยา pioglitazone ไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (adjusted hazard ratio [HR] 1.06; 95% CI 0.89-1.26) โดยได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันจาก case-control analyses (ใช้ pioglitazone ใน 19.6% ของผู้ป่วย และใน 17.5% ของกลุ่มควบคุม; adjusted odds ratio 1.18; 95% CI 0.78-1.80) และใน adjusted analyses ไม่พบความสัมพันธ์กับมะเร็ง 8 ประเภทจาก 10 ประเภท โดยพบว่าประวัติเคยใช้ยา pioglitazone สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก (HR 1.13; 95% CI 1.02-1.26) และมะเร็งตับอ่อน (HR 1.41; 95% CI 1.16-1.71) อุบัติการณ์อย่างหยาบของมะเร็งต่อมลูกหมากและตับอ่อนในผู้ที่ใช้ยา pioglitazone เทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาเท่ากับ 453.3 vs 449.3 และ 81.1 vs 48.4 per 100,000 person-years ตามลำดับ ทั้งนี้ไม่พบรูปแบบชัดเจนของความเสี่ยงมะเร็งใด ๆ สำหรับเวลานับตั้งแต่เริ่มใช้ยา ระยะเวลาการใช้ยา หรือขนาดยา

ยา pioglitazone ไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่ก็ยังไม่อาจตัดประเด็นความเสี่ยงที่สูงขึ้นดังที่พบจากการศึกษาก่อนหน้านี้ และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากและตับอ่อนนั้นเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุหรือเกิดจากความบังเอิญ ตัวแปรกวน หรือเป็นสาเหตุตาลปัตร