พยากรณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากน้ำหนักแรกเกิดและพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพ

พยากรณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากน้ำหนักแรกเกิดและพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพ

BMJ 2015;351:h3672.

บทความเรื่อง Birth Weight and Later Life Adherence to Unhealthy Lifestyles in Predicting Type 2 Diabetes: Prospective Cohort Study รายงานข้อมูลจากการศึกษาเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักแรกเกิดและปัจจัยเสี่ยงด้านวิถีชีวิตในวัยผู้ใหญ่ต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงผลลัพธ์จากน้ำหนักแรกเกิดอย่างเดียว และวิถีชีวิตวัยผู้ใหญ่อย่างเดียว และผลกระทบซึ่งกันและกันระหว่างน้ำหนักแรกเกิดและวิถีชีวิตวัยผู้ใหญ่

ข้อมูลในการศึกษาได้จากการศึกษา Health Professionals Follow-up Study (ค.ศ. 1986-2010), Nurses’ Health Study (ค.ศ. 1980-2010) และ Nurses’ Health Study II (ค.ศ. 1991-2011) รวมผู้ชายและผู้หญิง 149,794 คนซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคมะเร็งที่พื้นฐาน

ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประเมินจากรายงานของกลุ่มตัวอย่างและแบบสอบถาม พฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพประเมินตามดัชนีมวลกาย การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การดื่มเหล้า และเกณฑ์ alternate healthy eating index

ระหว่าง 20-30 ปีของการติดตามพบผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวม 11,709 ราย ค่า multivariate adjusted relative risk ของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เท่ากับ 1.45 (95% confidence interval 1.32-1.59) ต่อกิโลกรัมน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำกว่า และ 2.10 (1.71-2.58) ต่อปัจจัยลบด้านวิถีชีวิต ค่า relative risk ของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สัมพันธ์กับการเกิดร่วมกันของน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำกว่าและปัจจัยลบด้านวิถีชีวิตเท่ากับ 2.86 (2.26-3.63) ซึ่งนอกจากสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากปัจจัยแต่ละตัวแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นผลกระทบซึ่งกันและกันที่มีนัยสำคัญ (p for interaction < 0.001) จากการศึกษาพบว่า ขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 22% (95% CI 18.3%-26.4%) สำหรับน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำอย่างเดียว, 59% (57.1%-61.5%) สำหรับพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพอย่างเดียว และ 18% (13.9%-21.3%) สำหรับผลกระทบซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัยทั้งสองตัว

การหันมาดูแลรักษาสุขภาพส่งผลดีต่อการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ดี การปรับปรุงปัจจัยทั้งก่อนและหลังคลอดจะช่วยให้ป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากขึ้น