Metformin ต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหัวใจระหว่าง CABG ในผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน

Metformin ต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหัวใจระหว่าง CABG ในผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน

The Lancet Diabetes & Endocrinology. Published Online: 12 July 2015.

บทความเรื่อง Effect of Metformin Pretreatment on Myocardial Injury during Coronary Artery Bypass Surgery in Patients without Diabetes (Metcab): A Double-Blind, Randomised Controlled Trial รายงานว่า การเกิด ischaemia และการช่วยฟื้นชีวิตระหว่างผ่าตัด coronary artery bypass graft (CABG) จะสร้างความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และ plasma troponin concentration หลังผ่าตัดที่เพิ่มขึ้นก็สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่แย่ลง การศึกษานี้จึงได้ประเมินผลด้านลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจจากการให้ metformin ก่อนผ่าตัดโดยประเมินจาก troponin concentrations ระหว่าง CABG ในผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน

การศึกษามีขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ในผู้ใหญ่ซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวานและผ่าตัด CABG โดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม การศึกษาได้สุ่มให้ผู้ป่วยได้รับ metformin hydrochloride (500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง) หรือยาหลอก (วันละ 3 ครั้ง) เป็นเวลา 3 วันก่อนผ่าตัด โดยได้รับยาครั้งสุดท้ายประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด จุดยุติปฐมภูมิ ได้แก่ plasma concentration ของ high-sensitive troponin I ที่ 6, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด โดยวิเคราะห์ใน per-protocol population ด้วย mixed-model analysis จากทั้ง 3 เวลา จุดยุติทุติยภูมิ ได้แก่ การเกิด arrhythmias ที่มีความเชื่อมโยงทางคลินิกภายใน 24 ชั่วโมงหลังช่วยฟื้นชีวิต, ความจำเป็นสำหรับ inotropic support, ระยะเวลาจนถึงถอดท่อช่วยหายใจ, ระยะเวลาการพักรักษาในไอซียู และการใช้อินซูลินหลังผ่าตัด

ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 มีผู้ป่วยได้รับการสุ่ม 111 ราย (57 รายได้รับ metformin และ 54 รายได้รับยาหลอก) ผู้ป่วย 5 รายถอนตัวจากกลุ่ม metformin และ 6 รายถอนตัวจากกลุ่มยาหลอก โดยมีผู้ป่วย 52 รายในกลุ่ม metformin และ 48 รายในกลุ่มยาหลอกรวมอยู่ใน per-protocol analysis ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของ high-sensitivity troponin I เพิ่มขึ้นจาก 0 μg/L เป็น 3.67 μg/L (95% CI 3.06-4.41) จาก metformin และจาก 3.32 μg/L (2.75-4.01) จากยาหลอกที่ 6 ชั่วโมงหลังการช่วยฟื้นชีวิต; 2.84 μg/L (2.37-3.41) และ 2.45 μg/L (2.02-2.96) ตามลำดับที่ 12 ชั่วโมง และเป็น 1.77 μg/L (1.47-2.12) และ 1.60 μg/L (1.32-1.94) ที่ 24 ชั่วโมง โดยระดับไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม (difference 12.3% for all timepoints [95% CI -12.4 to 44.1] p = 0.35) การเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่ต่างกันระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม (3 ราย [5.8%] จาก 52 รายที่ได้รับ metformin vs 3 ราย [6.3%] จาก 48 รายที่ได้รับยาหลอก; p = 1.00) ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างด้านความจำเป็นสำหรับ inotropic support, ระยะเวลาจนถึงถอดท่อช่วยหายใจ, ระยะเวลาการพักรักษาในไอซียู หรือการใช้อินซูลินหลังผ่าตัด และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 30 วันหลังผ่าตัด การเกิดปัญหาระบบทางเดินอาหาร (ส่วนใหญ่เป็นอาการท้องร่วง) พบมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ได้ metformin เทียบกับยาหลอก (11 ราย [21.2%] จาก 52 ราย vs 2 ราย [4.2%] จาก 48 ราย; p = 0.01)

ถึงแม้การให้ metformin ในระยะสั้นก่อนผ่าตัดมีความปลอดภัยแต่ก็ไม่ใช่แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจระหว่างผ่าตัดในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานและเข้ารับการผ่าตัด CABG