เสริมธาตุเหล็กลดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์การตั้งครรภ์

เสริมธาตุเหล็กลดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์การตั้งครรภ์

BMJ 2013;346:f3443

            บทความเรื่อง Anaemia, prenatal iron use, and risk of adverse pregnancy outcomes: systematic review and meta-analysis รายงานข้อมูลจากการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis เพื่อสรุปหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างภาวะเลือดจางระหว่างตั้งครรภ์และการเสริมธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์ต่อผลลัพธ์ด้านโลหิตวิทยาระหว่างตั้งครรภ์และผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ รวมถึงประเมินความสัมพันธ์แบบ exposure-response relation ของขนาดธาตุเหล็ก, ระยะการใช้ และจำนวนฮีโมโกลบินในช่วงตั้งครรภ์กับผลลัพธ์การตั้งครรภ์

            นักวิจัยสืบค้นข้อมูลจาก PubMed และ Embase เพื่อรวบรวมงานวิจัยที่ตีพิมพ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 และบรรณานุกรมของบทความทบทวนวรรณกรรม โดยคัดเลือกจากการศึกษาแบบ randomised trial ของการเสริมธาตุเหล็กในช่วงตั้งครรภ์ และการศึกษาแบบ prospective cohort study ของภาวะเลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ และคัดการศึกษาแบบ cross sectional และ case-control study

            นักวิจัยรวบรวมการศึกษาแบบ randomised trial 48 ชิ้น (ผู้หญิง 17,793 ราย) และการศึกษาแบบ cohort study 44 ชิ้น (ผู้หญิง 1,851,682 ราย) การเสริมธาตุเหล็กเพิ่มจำนวนฮีโมโกลบินของแม่เฉลี่ย 4.59 (95% confidence interval 3.72-5.46) g/L เทียบกับกลุ่มควบคุม ขณะที่ลดความเสี่ยงเลือดจาง (relative risk 0.50, 0.42-0.59), ภาวะพร่องธาตุเหล็ก (0.59, 0.46-0.79), ภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก (0.40, 0.26-0.60), และน้ำหนักแรกเกิดต่ำ (0.81, 0.71-0.93) ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ผลลัพธ์ของธาตุเหล็กต่อการคลอดก่อนกำหนดไม่มีนัยสำคัญ (relative risk 0.84, 0.68-1.03) การวิเคราะห์จาก cohort study แสดงให้เห็นความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อน้ำหนักแรกเกิดต่ำ (adjusted odds ratio 1.29, 1.09-1.53) และคลอดก่อนกำหนด (1.21, 1.13-1.30) จากภาวะเลือดจางในช่วงสามเดือนแรกหรือสามเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ และการวิเคราะห์ exposure-response analysis ชี้ว่า ทุก 10 mg ที่เพิ่มขึ้นของปริมาณธาตุเหล็ก/วัน จนถึง 66 mg/day มี relative risk ของภาวะเลือดจางระหว่างตั้งครรภ์เท่ากับ 0.88 (0.84-0.92) (p for linear trend < 0.001) น้ำหนักแรกเกิดเพิ่มขึ้น 15.1 (6.0-24.2) g (p for linear trend = 0.005) และความเสี่ยงน้ำหนักแรกเกิดต่ำลดลง 3% (relative risk 0.97, 0.95-0.98) สำหรับทุก 10 mg ที่เพิ่มขึ้น/วัน (p for linear trend < 0.001) ระยะการเสริมธาตุเหล็กไม่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลลัพธ์หลังปรับตามขนาด นอกจากนี้ระดับฮีเมโกลบินเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นทุก 1 g/L สัมพันธ์กับน้ำหนักแรกเกิดที่เพิ่มขึ้น 14.0 (6.8-21.8) g (p for linear trend = 0.002) แต่ระดับฮีโมโกลบินเฉลี่ยไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงน้ำหนักแรกเกิดต่ำและคลอดก่อนกำหนด อนึ่ง ไม่พบหลักฐานที่มีนัยสำคัญด้านระยะการตั้งครรภ์ ทารกตัวเล็ก และความยาวแรกเกิด

            การเสริมธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์ทุกวันมีผลดีต่อน้ำหนักแรกเกิดในลักษณะ linear dose-response ซึ่งอาจนำไปสู่การลดความเสี่ยงน้ำหนักแรกเกิดต่ำ นอกจากนี้พบว่าจำนวนฮีโมโกลบินเฉลี่ยระหว่างตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้น้ำหนักแรกเกิดสูงขึ้นด้วย