บริโภคโอเมก้า-3 จากอาหารทะเลลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม
BMJ 2013;346:f3706
บทความเรื่อง Intake of Fish and Marine N-3 Polyunsaturated Fatty Acids and Risk of Breast Cancer: Meta-Analysis of Data from 21 Independent Prospective Cohort Studies รายงานข้อมูลจากการศึกษาแบบ meta-analysis และ systematic review จาก prospective cohort study เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคปลาและกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งชนิดโอเมก้า-3 (n-3 PUFA) และความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม และศึกษาความเชื่อมโยงแบบ dose-response
นักวิจัยรวบรวมข้อมูลจาก PubMed และ Embase จนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 และบรรณานุกรมจากบทความที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่นำมาศึกษาเป็น prospective cohort study ซึ่งมีข้อมูล relative risk และ 95% confidence intervals ต่อมะเร็งเต้านมตามการบริโภคปลา, การบริโภค n-3 PUFA และ tissue biomarkers
นักวิจัยรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์จำนวน 26 ชิ้น รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 20,905 ราย และผู้เข้าร่วมวิจัย 883,585 รายจากการศึกษาแบบ prospective cohort study อิสระ 21 ชิ้น บทความ 11 ชิ้น (มะเร็งเต้านม 13,323 เหตุการณ์ และผู้เข้าร่วมวิจัย 687,770 ราย) ศึกษาการบริโภคปลา บทความ 17 ชิ้นศึกษา n-3 PUFA จากอาหารทะเล (มะเร็งเต้านม 16,178 เหตุการณ์ และผู้เข้าร่วมวิจัย 527,392 ราย และบทความ 12 ชิ้นศึกษา alpha linolenic acid (มะเร็งเต้านม 14,284 เหตุการณ์ และผู้เข้าร่วมวิจัย 405,592 ราย) กรดไขมัน n-3 PUFA จากอาหารทะเลสัมพันธ์กับการลดลง 14% ของความเสี่ยงมะเร็งเต้านม (relative risk สำหรับกลุ่มสูงสุดเทียบกับกลุ่มต่ำสุดเท่ากับ 0.86 (95% confidence interval 0.78-0.94), I2 = 54) และ relative risk ยังคงเดิมแม้ประเมิน n-3 PUFA ในฐานะการบริโภคอาหาร (0.85, 0.76-0.96, I2 = 67%) หรือ tissue biomarkers (0.86, 0.71-1.03, I2 = 8%) การวิเคราะห์ subgroup analyses ชี้ว่า ความสัมพันธ์แบบกลับระหว่างกรดไขมัน n-3 PUFA จากอาหารทะเลและความเสี่ยงสามารถเห็นได้ชัดเจนกว่าในการศึกษาที่ไม่ได้ปรับตามดัชนีมวลกาย (BMI) (0.74, 0.64-0.86, I2 = 0) เทียบกับการศึกษาที่ปรับตาม BMI (0.90, 0.80-1.01, I2 = 63.2%) การวิเคราะห์ dose-response analysis ชี้ว่า ความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลดลง 5% per 0.1 g/day (0.95, 0.90-1.00, I2 = 52%) หรือ 0.1% energy/day (0.95, 0.90-1.00, I2 = 79%) ที่เพิ่มขึ้นของการบริโภคกรดไขมัน n-3 PUFA จากอาหารทะเล อย่างไรก็ดี ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างการบริโภคปลาหรือการได้รับ alpha linolenic acid
การบริโภคกรดไขมัน n-3 PUFA จากอาหารทะเลที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อมะเร็งเต้านม และจากความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคปลาและ alpha linolenic acid ต่อความเสี่ยงก็สนับสนุนว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมแบบ prospective cohort studies และผลลัพธ์นี้อาจมีนัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนในแง่การป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยการปรับอาหารและวิถีชีวิต