Liraglutide สำหรับลดน้ำหนักในเบาหวานชนิดที่ 2
JAMA. 2015;314(7):687-699.
บทความเรื่อง Efficacy of Liraglutide for Weight Loss Among Patients with Type 2 Diabetes: The SCALE Diabetes Randomized Clinical Trial รายงานว่า การลดน้ำหนักได้ 5-10% จะส่งผลดีต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันยังคงมียาควบคุมน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในจำนวนน้อย
การศึกษานี้ได้ศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของ liraglutide เทียบกับยาหลอกสำหรับการควบคุมน้ำหนักในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนและเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วงการศึกษาเปรียบเทียบมีระยะเวลา 56 สัปดาห์และการติดตามหลังหยุดยามีระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยศึกษาใน 9 ประเทศ ระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 และสุ่มในผู้ป่วย 846 ราย เกณฑ์การศึกษาประกอบด้วยดัชนีมวลกายเท่ากับ 27.0 หรือมากกว่า อายุ 18 ปีหรือมากกว่า ได้รับยาลดน้ำตาลแบบยารับประทาน 0-3 ตัว (metformin, thiazolidinedione, sulfonylurea) โดยมีน้ำหนักตัวคงที่ และมีระดับ glycated hemoglobin ระหว่าง 7.0%-10.0%
ผู้ป่วยได้รับ liraglutide (3.0 mg) (n = 423), liraglutide (1.8 mg) (n = 211) หรือยาหลอก โดยให้แบบยาฉีดวันละครั้ง โดยการรักษาทั้งหมดได้ให้ร่วมกับการลดพลังงานจากอาหารลง 500 kcal/d และเพิ่มการออกกำลังกาย activity (≥ 150 min/wk) จุดยุติปฐมภูมิ ได้แก่ relative change ในน้ำหนักตัว สัดส่วนของอาสาสมัครที่ลดน้ำหนักได้ 5% หรือมากกว่า หรือมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวที่พื้นฐานที่ 56 สัปดาห์
น้ำหนักที่พื้นฐานเท่ากับ 105.7 kg ในกลุ่มที่ได้รับ liraglutide 3.0 mg, 105.8 kg ในกลุ่มที่ได้รับ liraglutide 1.8 mg และ 106.5 kg ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก น้ำหนักตัวที่ลดลงเท่ากับ 6.0% (6.4 kg) จากliraglutide (3.0 mg dose), 4.7% (5.0 kg) จาก liraglutide (1.8 mg dose) และ 2.0% (2.2 kg) จากยาหลอก (estimated difference for liraglutide [3.0 mg] vs placebo -4.00% [95% CI -5.10% to -2.90%]; liraglutide [1.8 mg] vs placebo -2.71% [95% CI -4.00% to -1.42%]; p < 0.001 for both) น้ำหนักตัวที่ลดลง 5% หรือมากกว่าเกิดขึ้นใน 54.3% ของกลุ่มที่ได้รับ liraglutide (3.0 mg) และ 40.4% ที่ได้รับ liraglutide (1.8 mg) vs 21.4% ที่ได้รับยาหลอก (estimated difference for liraglutide [3.0 mg] vs placebo 32.9% [95% CI 24.6%-41.2%]; for liraglutide [1.8 mg] vs placebo 19.0% [95% CI 9.1%-28.8%]; p < 0.001 for both) และน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่า 10% เกิดขึ้นใน 25.2% ที่ได้รับ liraglutide (3.0 mg) และ 15.9% ที่ได้รับ liraglutide (1.8 mg) vs 6.7% ที่ได้รับยาหลอก (estimated difference for liraglutide [3.0 mg] vs placebo 18.5% [95% CI 12.7%-24.4%]; p < 0.001; for liraglutide [1.8 mg] vs placebo 9.3% [95% CI 2.7%-15.8%]; p = 0.006) โดยพบความผิดปกติของทางเดินอาหารมากกว่าในกลุ่มที่ได้รับ liraglutide (3.0 mg) vs liraglutide (1.8 mg) และยาหลอก แต่ไม่มีรายงานตับอ่อนอักเสบ
ข้อมูลจากการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งน้ำหนักเกินและมีภาวะอ้วนชี้ว่า การรักษาด้วย liraglutide (3.0 mg) แบบยาฉีดวันละครั้งช่วยลดน้ำหนักตัวในระยะ 56 สัปดาห์เมื่อเทียบกับยาหลอก ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยในระยะยาว