ค่าน้ำตาลแรกเกิดและพัฒนาการระบบประสาทที่ 2 ปี
N Engl J Med 2015;373:1507-1518.
บทความเรื่อง Neonatal Glycemia and Neurodevelopmental Outcomes at 2 Years รายงานว่า ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดและอาจนำไปสู่ความบกพร่องของระบบประสาท ขณะที่ข้อมูลสนับสนุน thresholds สำหรับการรักษายังคงมีจำกัด
งานวิจัย prospective cohort study นี้ได้ศึกษาในทารกแรกเกิด 528 คน ซึ่งมีอายุครรภ์อย่างน้อย 35 สัปดาห์ และมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ทารกทั้งหมดได้รับการรักษาเพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้อย่างน้อย 47 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (2.6 มิลลิโมล/ลิตร) และติดตามระดับน้ำตาลจนถึง 7 วัน และติดตามระดับ interstitial glucose อย่างต่อเนื่อง การประเมินที่ 2 ปีวัดด้วย Bayley Scales of Infant Development III และแบบทดสอบหน้าที่การบริหารและการมองเห็น
มีทารกที่สอดคล้องกับเกณฑ์การวิจัย 528 คนจากทารก 614 คน และสามารถประเมินผลในทารก 404 คน (77%) โดยพบว่า 216 คน (53%) มีน้ำตาลต่ำเมื่อทารกเกิด (ระดับน้ำตาลในเลือด < 47 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ภาวะน้ำตาลต่ำเมื่อรักษาจนระดับน้ำตาลคงที่ที่อย่างน้อย 47 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อผลลัพธ์หลักด้านความผิดปกติทางประสาท (risk ratio 0.95; 95% confidence interval [CI] 0.75-1.20; p = 0.67) และการประมวลผลประเมินจากคะแนนหน้าที่การบริหารหรือ motion coherence threshold ที่สูงกว่า 1.5 SD จากค่าเฉลี่ย (risk ratio 0.92; 95% CI 0.56-1.51; p = 0.74) ข้อมูลจากงานวิจัยชี้ด้วยว่า ความเสี่ยงไม่สูงขึ้นในเด็กที่ไม่ทราบว่ามีภาวะน้ำตาลต่ำ (ระดับต่ำเฉพาะ interstitial glucose) ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดต่ำที่สุด จำนวนครั้งการเกิดน้ำตาลต่ำ และ negative interstitial increment (พื้นที่เหนือเส้นโค้งระดับ interstitial glucose และต่ำกว่า 47 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็ไม่มีผลต่อการทำนายผลลัพธ์
ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า ภาวะน้ำตาลต่ำในทารกแรกเกิดไม่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ด้านระบบประสาทจากการรักษาเพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือดที่อย่างน้อย 47 มิลลิกรัม/เดซิลิตร