ผล PPI ต่อความเสี่ยงเลือดออกทางเดินอาหารในผู้ป่วย Post-MI ได้รับยาต้านเกล็ดเลือดและ NSAID

ผล PPI ต่อความเสี่ยงเลือดออกทางเดินอาหารในผู้ป่วย Post-MI ได้รับยาต้านเกล็ดเลือดและ NSAID

BMJ 2015;351:h5096.

บทความเรื่อง Impact of Proton Pump Inhibitor Treatment on Gastrointestinal Bleeding Associated with Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug Use among Post-Myocardial Infarction Patients Taking Antithrombotics: Nationwide Study รายงานข้อมูลจากการศึกษาผลของ proton pump inhibitors (PPIs) ต่อความเสี่ยงเลือดออกในทางเดินอาหารในผู้ป่วย post-myocardial infarction ซึ่งได้รับยาต้านเกล็ดเลือดและ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)

ข้อมูลในการศึกษารวบรวมจากโรงพยาบาลทุกแห่งในเดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ. 1997-2011 ครอบคลุมผู้ป่วยอายุ 30 ปีหรือมากกว่าซึ่งรับเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจตายครั้งแรก และรอดชีวิตอย่างน้อย 30 วันหลังออกจากโรงพยาบาล ความสัมพันธ์ระหว่าง PPIs และความเสี่ยงเลือดออกในทางเดินอาหารจากการรักษาด้วย NSAID ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือดประมาณจากตัวแบบ adjusted time dependent Cox regression models

การใช้ PPIs สัมพันธ์โดยอิสระกับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อเลือดออกในทางเดินอาหารในผู้ป่วย post-myocardial infarction ซึ่งได้รับยาต้านเกล็ดเลือดและ NSAIDs จากผู้ป่วย post-myocardial infarction 82,955 คน (อายุเฉลี่ย 67.4 ปี, 64% (n = 53,070) เป็นชาย) ซึ่งทั้งหมดได้รับยาต้านเกล็ดเลือด 1 ตัว หรือ 2 ตัว พบว่า 42.5% (n = 35,233) ได้รับ NSAIDs และ 45.5% (n = 37,771) ได้รับ PPIs จากมัธยฐานการติดตาม 5.1 ปี พบเลือดออกในทางเดินอาหาร 3,229 เหตุการณ์ โดยมีอัตราอุบัติการณ์อย่างหยาบของการเกิดเลือดออก (เหตุการณ์/100 person years) จากการรักษาด้วย NSAID ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือดเท่ากับ 1.8 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับ PPIs และ 2.1 สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ PPIs ความเสี่ยงที่ปรับแล้วต่อการเกิดเลือดออกต่ำกว่าจากการใช้ PPI (hazard ratio 0.72, 95% CI 0.54-0.95) โดยไม่เป็นผลจากสูตรยาต้านเกล็ดเลือด ชนิดของ NSAID และชนิดของ PPI ที่ใช้ อย่างไรก็ดี การศึกษานี้มีข้อจำกัดที่รูปแบบการศึกษา โดยผลลัพธ์เสนอแนะว่าการรักษาด้วย PPI อาจมีประโยชน์แม้มีความเสี่ยงเลือดออกในทางเดินอาหารซ่อนเร้นอยู่ และแพทย์สามารถสั่งจ่าย PPI เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยง NSAIDs ในผู้ป่วย post-myocardial infarction นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้ชี้ชัดว่าสามารถถอด PPIs ได้หรือไม่ในผู้ป่วยกลุ่มย่อยซึ่งมีความเสี่ยงต่ำต่อเลือดออกในทางเดินอาหาร

ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า เลือดออกสัมพันธ์กับทั้งยาต้านเกล็ดเลือดและ NSAID ในผู้ป่วย post-myocardial infarction ซึ่งการใช้ PPIs ร่วมด้วยมีความสัมพันธ์โดยอิสระกับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อเลือดออกในทางเดินอาหารในผู้ป่วย post-myocardial infarction ซึ่งได้รับยาต้านเกล็ดเลือด และ NSAID โดยไม่เป็นผลจากสูตรยาต้านเกล็ดเลือด ชนิดของ NSAID และชนิดของ PPI ที่ใช้