ชูสุกรจีเอ็มแหล่งอวัยวะสำรอง
บีบีซี – เทคนิคตัดแต่งพันธุกรรมอาจช่วยให้สุกรกลายเป็นแหล่งอวัยวะสำรองของมนุษย์ในวันข้างหน้า
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มโครงการศึกษาวิจัยการใช้เทคนิค Crispr เพื่อดัดแปลงดีเอ็นเอในเซลล์ของสุกรให้มีความเข้ากันได้กับร่างกายคนมากขึ้น ทั้งในแง่การต่อต้านอวัยวะและการติดเชื้อเรโทรไวรัสจากสุกร ซึ่งแม้คาดว่ายังคงต้องใช้เวลาศึกษาอีกหลายปี แต่หากการศึกษานี้ประสบความสำเร็จก็จะนับเป็นอีกก้าวสำคัญของการแก้ไขปัญหาขาดแคลนอวัยวะบริจาค
เทคนิค Crispr เป็นเครื่องมือใหม่สำหรับการดัดแปลงดีเอ็นเอ โดยในการศึกษานี้นักวิจัยได้นำมาใช้กำจัดเชื้อ porcine endogenous retrovirus ในเซลล์ของสุกรซึ่งอาจระบาดมาสู่คน ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า เทคนิค Crispr สามารถกำจัดเชื้อ porcine endogenous retrovirus ทั้งหมดในเซลล์ของสุกร และเซลล์สุกรที่ผ่านการดัดแปลงแล้วก็ไม่ได้ส่งผ่านเชื้อไปยังเซลล์คนได้ง่ายเหมือนก่อน ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าเทคนิค Crispr จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาการต่อต้านอวัยวะและการระบาดของโรคจากสัตว์จากการนำอวัยวะจากสัตว์มาปลูกถ่ายในคน
อีกด้านหนึ่งมีผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า แม้เราสามารถแก้ปัญหาในประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และความปลอดภัย แต่ก็ต้องไม่มองข้ามประเด็นด้านวัฒนธรรมและสังคมหลังจากที่การปลูกถ่ายอวัยวะจากสุกรเริ่มแพร่หลายมากขึ้น กระนั้นก็ถือว่าผลลัพธ์จากการศึกษานี้เป็นการพิสูจน์หลักการและชี้ให้เห็นแนวโน้มความก้าวหน้าของการปลูกถ่ายอวัยวะ Antalya escort