การสูดสำลักควัน (Inhalation Injury)
ปัณฑิตา อุตรสฤษฏิกุล, นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6
นพ.ไชยพร ยุกเซ็น, อาจารย์แพทย์
ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง, อาจารย์แพทย์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 58 ปี อาชีพค้าขาย มาโรงพยาบาลเนื่องจากถูกแก๊สหุงต้มระเบิดใส่เมื่อ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลในขณะที่กำลังเก็บร้านขายของ ผู้ป่วยพยายามปิดวาล์วแก๊สแต่ปิดไม่ได้ ซึ่งขณะเดียวกันได้มีรถจักรยานยนต์วิ่งผ่านมา หลังจากนั้นก็เกิดเปลวไฟลุกขึ้นจากถังแก๊สทันที ไฟลุกติดตัวผู้ป่วย ผู้เห็นเหตุการณ์ช่วยกันดับไฟ และเรียกหน่วยกู้ภัยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
ขณะมาถึงโรงพยาบาลผู้ป่วยรู้สึกตัวดี มีกลิ่นแก๊สหุงต้มติดตามตัว เสื้อผ้าไหม้ มีผมบางส่วนถูกไฟไหม้ ร่างกายส่วนที่อยู่นอกเสื้อผ้าบวมแดง และผิวหนังบางส่วนมีลักษณะเป็นถุงน้ำ
ตรวจร่างกายแรกรับ สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ พูดคุยได้ปกติ การหายใจปกติ ตรวจลักษณะภายนอกพบบาดแผลไฟไหม้หลายแห่ง ได้แก่ บริเวณใบหน้า ลำคอ แขนขาทั้งสองข้าง แผ่นหลัง และบริเวณก้น ผิวหนังบางส่วนมีลักษณะแดงอย่างเดียว แต่บางส่วนมีลักษณะเป็นถุงน้ำร่วมด้วย ตรวจร่างกายเพิ่มเติมพบมีขนจมูกไหม้บางส่วน และมีเสียงแหบเล็กน้อย
หลังจากการประเมินเบื้องต้น คิดว่าผู้ป่วยมีบาดแผลไฟไหม้อยู่ในระดับ 2 กินพื้นที่ประมาณ 50% ของพื้นที่ผิวกาย และอาจจะมีภาวะของการสำลักควัน (inhalation injury) ร่วมด้วย แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินได้ทำการเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และได้ทำการเปิดเส้นให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ จากนั้นได้ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมอุบัติเหตุให้มาช่วยประเมินและวางแผนการรักษาต่อไป
อภิปราย
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากเปลวไฟ หรือถูกความร้อนจากเปลวไฟ สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ การประเมินเบื้องต้น (primary survey) ได้แก่ การประเมินทางเดินหายใจ (airway), การหายใจ (breathing) และระบบไหลเวียนเลือด (circulation) เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการช่วยหายใจหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิด inhalation injury
หลังจากทำการรักษาจนผู้ป่วยปลอดภัยแล้วจะต้องมีการประเมินความรุนแรงของโรค โดยสิ่งที่ควรประเมินได้แก่
1. ชนิดของการไหม้ แบ่งได้เป็น 5 ประเภท1 คือ
- (thermal) (flame), (scald)
- (electrical)
- (chemical)
- (inhalation)
- (radiation)
2. rule of 9” (1) Lund and Browder (2)
3. 3 first degree burn, second degree burn (superficial, deep) third degree burn (3, 4, 5)
ภาพที่ 1 การประเมินบาดแผลไหม้โดยใช้ rule of 9
ภาพที่ 2 การประเมินบาดแผลไหม้ในเด็กโดยใช้ Lund and Browder
ภาพที่ 3 superficial degree burn (epidermal)
- ทำลายแค่ epidermis
- ผิวหนังแดง (sunburn), pain
- ใช้เวลารักษาประมาณ 1 สัปดาห์
ภาพที่ 4 second degree burn (partial thickness)
#superficial second degree
- epidermis + superficial dermis
- ตุ่มน้ำ, ปวด
- รักษา 14-21 วัน
#deep second degree
- epidermis + superficial + deep part dermis บางส่วน
- ผิวหนังซีดขาว แต่ยังนิ่ม
- รักษา 3-8 สัปดาห์
- มีแผลเป็น
ภาพที่ 5 third degree burn (full thickness)
- ถูกทำลายทุกชั้น
- ผิวหนังแข็ง ไม่เจ็บ
- มี wound contraction
* * * รายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ * * *