Clopidogrel และ Aspirin ต่อปวดไมเกรนหลังปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน

Clopidogrel และ Aspirin ต่อปวดไมเกรนหลังปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน

JAMA. Published online November 9, 2015.

บทความเรื่อง Effect of Clopidogrel and Aspirin vs Aspirin Alone on Migraine Headaches after Transcatheter Atrial Septal Defect Closure: The CANOA Randomized Clinical Trial รายงานว่า การเกิดปวดศีรษะไมเกรนเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังการปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน หรือ atrial septal defect (ASD) ผ่านสายสวน  โดยมีข้อเสนอแนะว่า clopidogrel อาจลดไมเกรนหลังปิด ASD ได้

งานวิจัยนี้ได้ประเมินประสิทธิผลของ clopidogrel ซึ่งให้ร่วมกับ aspirin สำหรับป้องกันไมเกรนหลังการปิด ASD ในผู้ป่วย 171 รายซึ่งมีข้อบ่งชี้ของการปิด ASD และไม่มีประวัติไมเกรนจากโรงพยาบาลวิทยาลัยแพทย์ 6 แห่งในประเทศแคนาดา ผู้ป่วยได้รับการสุ่มเป็นกลุ่มที่รักษาด้วย aspirin + clopidogrel (กลุ่ม clopidogrel, n = 84) หรือกลุ่มที่ได้รับ aspirin + ยาหลอก (กลุ่มยาหลอก, n = 87) เป็นระยะเวลา 3 เดือนหลังการปิด ASD ผ่านทางสายสวน ผู้ป่วยรายแรกรวบรวมเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 และการติดตามสุดท้ายเสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015

            ผลลัพธ์หลักด้านประสิทธิผล ได้แก่ จำนวนวันที่เกิดไมเกรนในแต่ละเดือนภายใน 3 เดือนหลังปิด ASD ในกลุ่มประชากรทั้งหมด โดยจุดยุติทุติยภูมิจำเพาะมาก่อน ได้แก่ อุบัติการณ์และความรุนแรงของไมเกรนที่พบใหม่ประเมินจากแบบสำรวจ Migraine Disability Assessment และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวแบบ zero-inflated Poisson regression model

ค่าเฉลี่ย (SD) อายุของอาสาสมัครเท่ากับ 49 (15) ปี และ 62% (106 ราย) เป็นผู้หญิง ผู้ป่วยในกลุ่ม clopidogrel มีค่าเฉลี่ย (SD) จำนวนวันที่เกิดไมเกรนภายใน 3 เดือนหลังการรักษาลดลง (0.4 วัน [95% CI 0.07-0.69]) vs กลุ่มยาหลอก (1.4 วัน [95% CI 0.54-2.26]; difference -1.02 วัน [95% CI -1.94 to -0.10 days]; incident risk ratio [IRR] 0.61 [95% CI 0.41-0.91]; p = 0.04) และมีอุบัติการณ์ที่ต่ำกว่าของการเกิดไมเกรนหลังปิด ASD (9.5% สำหรับกลุ่ม clopidogrel vs 21.8% สำหรับกลุ่มยาหลอก; difference -12.3% [95% CI -23% to -1.6%]; odds ratio [OR] 0.38 [95% CI 0.15-0.89]; p = 0.03) ในผู้ป่วยที่เกิดไมเกรนพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่ม clopidogrel มีความรุนแรงของอาการน้อยกว่า (ไม่พบผู้ป่วยอาการปานกลางหรือรุนแรง vs 37% [7 ราย] ในกลุ่มยาหลอก; difference -36.8% [95% CI -58.5% to -15.2%]; p = 0.046) จากการศึกษาไม่พบผลต่างด้านอัตราผู้ป่วยที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างน้อย 1 เหตุการณ์ (16.7% [14 ราย] ในกลุ่ม clopidogrel vs 21.8% [19 ราย] ในกลุ่มยาหลอก; difference -5.2% [95% CI -17% to 6.6%]; p = 0.44)

ในกลุ่มผู้ป่วยที่ปิด ASD ผ่านสายสวนพบว่า การรักษาด้วย clopidogrel และ aspirin เมื่อเทียบกับการรักษาด้วย aspirin อย่างเดียวมีความถี่ที่น้อยกว่าของการเกิดไมเกรนในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินการอ้างอิงถึงประชากรทั่วไปและความคงทนของผลลัพธ์