คุณภาพอาหารและความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

คุณภาพอาหารและความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

Circulation. 2015;132:2212-2219.

บทความเรื่อง Changes in Diet Quality Scores and Risk of Cardiovascular Disease Among US Men and Women รายงานว่า การเกาะติดดัชนีคุณภาพอาหาร เช่น Alternative Healthy Eating Index, Alternative Mediterranean Diet score และ Dietary Approach to Stop Hypertension สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงของคะแนนดัชนีดังกล่าวตามระยะเวลาส่งผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในภายหน้าหรือไม่

การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในระยะ 4 ปีของคะแนนดัชนีคุณภาพอาหาร 3 ตัว (Alternative Healthy Eating Index, Alternative Mediterranean Diet score และ Dietary Approach to Stop Hypertension) และความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดจากอาสาสมัครชาย 29,343 รายในการศึกษา Health Professionals Follow-up Study และหญิง 51,195 รายในการศึกษา Nurses’ Health Study (ค.ศ. 1986-2010)     

ระหว่างการติดตามระยะ  1,394,702 person-years พบผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 11,793 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับอาสาสมัครซึ่งคะแนนคุณภาพอาหารคงที่ในแต่ละ 4 ปีพบว่า ผู้ที่มีคะแนนคุณภาพอาหารเพิ่มขึ้นสูงสุดมีความเสี่ยงโรคหัวใจต่ำลง 7-8% ใน 4 ปีต่อมา (hazard ratio รวมเท่ากับ 0.92 [95% confidence interval (CI) 0.87-0.99] สำหรับ Alternative Healthy Eating Index 0.93 [95% CI 0.85-1.02] สำหรับ Alternative Mediterranean Diet score และ 0.93 [95% CI 0.87-0.99] สำหรับ Dietary Approach to Stop Hypertension; all P for trend < 0.05) ในระยะยาวพบว่า คะแนนคุณภาพอาหารที่เพิ่มขึ้นจากเริ่มต้นจนถึงการติดตาม 4 ปีแรกสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่าง 20 ปีต่อมา (7% [95% CI 1-12] สำหรับ Alternative Healthy Eating Index และ 9% [95% CI 3-14] สำหรับ Alternative Mediterranean Diet score) ขณะที่คะแนนคุณภาพอาหารที่ลดลงสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระยะต่อมา 

การเกาะติดคะแนนคุณภาพอาหารที่ดีขึ้นตามระยะเวลาสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว