ผลลัพธ์จำกัดแคลอรีหรือออกกำลังกายแอโรบิกต่อการใช้ออกซิเจนสูงสุดและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุอ้วนมาก

ผลลัพธ์จำกัดแคลอรีหรือออกกำลังกายแอโรบิกต่อการใช้ออกซิเจนสูงสุดและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุอ้วนมาก

JAMA. 2016;315(1):36-46.

            บทความเรื่อง Effect of Caloric Restriction or Aerobic Exercise Training on Peak Oxygen Consumption and Quality of Life in Obese Older Patients with Heart Failure with Preserved Ejection Fraction: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า กว่า 80% ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่การบีบตัวของหัวใจไม่ลดลง (HFPEF) มักมีปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยที่การทนต่อการออกกำลังกายได้น้อยเป็นอาการหลักของ HFPEF เรื้อรังและเป็นตัวบ่งชี้หลักของคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง

            การศึกษานี้ได้ประเมินผลของการควบคุมแคลอรี (อาหาร) หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (ออกกำลังกาย) ต่อการฟื้นฟูความทนต่อการออกกำลังกายและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุซึ่งเป็น HFPEF และมีภาวะอ้วน

            การศึกษามีรูปแบบเป็น randomized, attention-controlled, 2 × 2 factorial trial มีขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 ในโรงพยาบาลวิทยาลัยแพทย์ ซึ่งจากผู้ป่วยที่คัดกรองเบื้องต้น 577 ราย ได้รวบรวมผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะอ้วน (ค่าเฉลี่ย [SD]: อายุเท่ากับ 67 ปี [5]; ดัชนีมวลกายเท่ากับ 39.3 [5.6]) โดยมี HFPEF เรื้อรังซึ่งอาการทรงตัวรวม 100 ราย (ตัดออกเนื่องจากไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การรวบรวม 366 ราย เนื่องจากสาเหตุอื่น 31 ราย และปฏิเสธเข้าร่วมการศึกษา 80 ราย) 

            ผู้ป่วยได้รับการควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกาย หรือทั้ง 2 อย่างเป็นเวลา 20 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการติดตามทางโทรศัพท์ทุก 2 สัปดาห์ ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ สมรรถภาพการออกกำลังกายประเมินจากการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Vo2, มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที; co-primary outcome) และคุณภาพชีวิตประเมินจากแบบสอบถาม Minnesota Living with Heart Failure (MLHF) Questionnaire (คะแนน 0-105 โดยคะแนนที่สูงกว่าชี้ว่ามีคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับหัวใจล้มเหลวที่ต่ำกว่า; co-primary outcome) จากคนไข้ทั้ง 100 รายได้สุ่มเป็นกลุ่มออกกำลังกาย 26 ราย ควบคุมอาหาร 24 ราย ควบคุมอาหารร่วมกับออกกำลังกาย 24 ราย และกลุ่มควบคุม 25 ราย ซึ่งจากจำนวนนี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมจนเสร็จสิ้นการศึกษารวม 92 ราย อัตราการเข้าร่วมออกกำลังกายเท่ากับ 84% (SD 14%) และการเกาะติดอาหารเท่ากับ 99% (SD 1%) จากการวิเคราะห์อิทธิพลหลักพบว่า การใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งจากการออกกำลังกาย (1.2 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที [95% CI 0.7-1.7], p < 0.001 และการควบคุมอาหาร 1.3 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที [95% CI 0.8-1.8], p < 0.001) โดยที่การออกกำลังกายร่วมกับควบคุมอาหารช่วยให้ค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอีก (อิทธิพลร่วมเท่ากับ 2.5 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) และไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางสถิติด้านคะแนน MLHF จากการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร (อิทธิพลหลัก: การออกกำลังกายเท่ากับ -1 หน่วย [95% CI -8 ถึง 5], p = 0.70; การควบคุมอาหารเท่ากับ -6 หน่วย [95% CI -12 ถึง 1], p = 0.08) การเปลี่ยนแปลงของการใช้ออกซิเจนสูงสุดสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปลี่ยนแปลงด้านร้อยละของมวลกายไร้ไขมัน (r = 0.32; p = 0.003) และการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อต้นขาประเมินจากอัตราส่วนไขมันแทรกระหว่างมัดกล้ามเนื้อ (r = 0.27; p = 0.02) ทั้งนี้ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อันเนื่องมาจากการศึกษา โดยน้ำหนักตัวลดลง 7% (7 กิโลกรัม [SD 1]) ในกลุ่มควบคุมอาหาร, 3% (4 กิโลกรัม [SD 1]) ในกลุ่มออกกำลังกาย, 10% (11 กิโลกรัม [SD 1] ในกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับควบคุมอาหาร และ 1% (1 กิโลกรัม [SD 1]) ในกลุ่มควบคุม

            ข้อมูลจากการศึกษาในผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วนและมี HFPEF ซึ่งอาการทรงตัวพบว่า การจำกัดแคลอรีหรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพิ่มการใช้ออกซิเจนสูงสุด และมีผลลัพธ์ดีขึ้นเมื่อทำร่วมกัน    อย่างไรก็ดี ไม่พบว่าวิธีใดมีผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตตามที่ประเมินจากแบบสอบถาม MLHF Questionnaire

gazlı amortisör shell shockers unblocked jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı jigolo ajansı anadolu yakası escort anadolu yakası escort kocaeli escort gebze escort antalya escort papaz büyüsü bağlama büyüsü bağlama büyüsü bağlama büyüsü aşk büyüsü papaz büyüsü bağlama büyüsü aşk büyüsü papaz büyüsü papaz büyüsü bağlama büyüsü