การผลักดันกฎหมายเพื่อปฏิรูปสาธารณสุข (ตอนที่ 2)

การผลักดันกฎหมายเพื่อปฏิรูปสาธารณสุข (ตอนที่ 2)

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กมธ.สนช.
กรรมการแพทยสภา  ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ต่อจากฉบับที่แล้ว

            2. กมธ.สธ.สปท. ได้เสนอให้มีการจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (สมสส.) เป็นองค์การมหาชน โดยมีการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกว่า “สำนักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สมสส.” และชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Healthcare Information systems Standards and Processing Administration: HISPA” ทั้งนี้เพื่อให้สำนักงานสามารถกำหนดและพัฒนามาตรฐานสารสนเทศระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้สารสนเทศระบบบริการสุขภาพสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ทุกระดับระหว่างกองทุน สถานพยาบาล และผู้รับบริการ ฯลฯ

            เป้าหมายก็คือ สำนักงานนี้ต้องการทำหน้าที่ในการปฏิรูปกลไกกลางระบบสารสนเทศในการเบิกจ่ายเงิน หรือที่เรียกว่า National clearing house นั่นเอง

            และก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนในกลุ่มสามพรานฟอรั่ม (ที่ยังมีข้อครหาเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบ) จะเข้ามาเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายกลางเหมือนที่เคยทำในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมาแล้ว จะเอาคนที่ไม่น่าไว้ใจเรื่องความสุจริตมาดูแลการบริหารการเงินอีกหรือ?

            3. ประธาน กมธ.สธ.สนช. นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ได้เสนอว่าจะให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยให้แยกเงินเดือนบุคลากรสาธารณสุขออกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

            ซึ่งผู้เขียนบทความนี้ เห็นด้วยในการที่จะแยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวในการรักษาผู้ป่วย เพราะทำให้งบประมาณในการรักษาผู้ป่วยของจังหวัด หรือ “หน่วยบริการอื่น ๆ” ไม่เท่ากัน เนื่องจากจำนวนบุคลากรไม่เท่ากัน เป็นปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ

            ความคิดเห็นของผู้เขียนเรื่องนี้ที่ได้นำเสนอ (โดยย่อในที่ประชุม เพราะความจำกัดของเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เสนอ) แต่ผู้เขียนขอนำมาเสนอเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจอันดีร่วมกันดังนี้

            ก่อนที่จะเสนอว่าควรปฏิรูประบบสาธารณสุขอย่างไร ควรเข้าใจความหมายของคำว่า “ปฏิรูป” และความหมายของคำว่า “สาธารณสุข” ก่อน จึงจะรู้ว่าสมควรจะเสนอการปฏิรูประบบสาธารณสุขอย่างไร

            การปฏิรูป มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่า “ปรับปรุงให้สมควร”

            ฉะนั้น การปฏิรูปสาธารณสุขก็คือการปรับปรุงระบบสาธารณสุขให้สมควร (ดีงาม เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ)

            สาธารณสุขมีความหมายเกี่ยวกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชน ซึ่งในปัจจุบันการสาธารณสุขอาจจะเรียกว่า การบริการสาธารณสุข (Public Health Services) หรือระบบสุขภาพ (Health Care System)

            ทั้งนี้ความร่วมมือขององค์กรชั้นนำด้านสุขภาพและการพัฒนา 500 แห่งทั่วโลก และองค์การอนามัยโลกต่างก็มีความเห็นร่วมกันที่จะกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งรัดการปฏิรูปเพื่อให้แน่ใจว่าคนทุกคนในทุกที่มีความสามารถเข้าถึงระบบการดูแลรักษาสุขภาพที่มีคุณภาพ (Quality health services) ในการช่วยชีวิต ยุติความยากจนสุด ๆ (ending extreme poverty) สร้างความต้านทานด้านสุขภาพต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและหยุดยั้งโรคระบาดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น โรคอีโบลา

            หรือเรียกว่ามีกระแสให้ทุกประเทศดำเนินการให้ประชาชนทุกคนมี Universal Health Coverage (UHC หรือ UC) ซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเป็นให้ครบถ้วนทุกด้านเพื่อที่จะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน และไม่ทำให้ประชาชนตกอยู่ในสภาพยากจนสุด ๆ (extreme poverty) ในการทำให้มี UHC หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดังนี้คือ

            1. Health financing for universal coverage /

            2. Essential medicines and health products /

            3. Health workforce

            4. Health statistics and information systems //

            5. National health policies

            6. Service delivery and safety () Saving life and improve quality of life High quality healthcare and how to control health care cost.          

            Universal Health Coverage () /30%

         คำว่าประสิทธิผล (effectiveness) หมายถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่พึงปรารถนาหรือเป็นไปตามที่คาดหวังไว้ พูดง่าย ๆ ชัด ๆ ก็คือ ประสิทธิผลพิจารณาจากการนำผลของงานโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับว่าตรงกับวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของงานหรือโครงการนั้น ๆ หรือไม่

            Effectiveness is doing the right things.

            (Efficiency) หมายถึง การใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใด ๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้น ๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้อง

            Efficiency is doing things right.

            จะเห็นได้ว่า การบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีปัญหามากมายดังต่อไปนี้คือ

            1. ปัญหาการขาดธรรมาภิบาลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

                        1.1 ขาดหลักนิติรัฐ หลายเรื่องที่ทำนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น แบ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพออกเป็นกองทุนย่อย ๆ หลายสิบกองทุน และห้ามโรงพยาบาลใช้เงินรักษาผู้ป่วยข้ามกองทุน ทำให้มีงบประมาณไม่เพียงพอในการรักษาผู้ป่วยทั่วไป

                        1.2ขาดหลักคุณธรรม บังคับแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยให้รับการรักษาแบบเดียวกัน เช่น CAPD-first สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จนผู้ป่วยเหล่านี้มีอัตราตายสูงที่สุดในโลก และไม่ยอมเลิกระเบียบนี้

                        1.3 ขาดหลักความโปร่งใส ปกปิดความจริงหรือโฆษณาเกินจริงว่ารักษาทุกโรค แต่ความจริงก็คือ ไม่ยอมให้รักษาอีกหลายโรค (หรือไม่ยอมให้ใช้ยาอีกหลายชนิด)

                        1.4ขาดหลักความมีส่วนร่วม คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สปสช. ไม่รับฟังความคิดเห็นจากผู้รับผลงานการบริหารกองทุน ได้แก่ โรงพยาบาลที่ได้รับเงินไม่เท่ากับค่าใช้จ่ายจริง และพยายามขอร้องให้ สปสช. แก้ไขแต่ก็ไม่แก้ไข

                        1.5 ขาดหลักความรับผิดชอบ ไม่สนใจปัญหาของผู้รับผลงานคือ โรงพยาบาล บอกว่ารัฐบาลให้งบประมาณเท่าไหร่ สปสช. ก็บริหารได้ ไม่สนใจแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่ได้รับผลเสียหายจากระเบียบปฏิบัติของ สปสช. เช่น ปัญหาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย โรคมะเร็งในระบบ 30 บาท ตายมากกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ เพราะใช้ยาเฉพาะที่ สปสช. สั่งซื้อจากองค์การเภสัชกรรม หรือถูกบังคับให้ล้างไตทางหน้าท้องเป็นวิธีแรกเท่านั้น (CAPD-first)

                        1.6 ขาดหลักความถูกต้อง เช่น การไม่ยึดหลักวิชาการแพทย์ที่แพทย์ผู้รักษาจะต้องเป็นผู้วิเคราะห์และตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยตามหลักวิชาการแพทย์ หรือการสั่งยาที่ไม่อาศัยหลักวิชาการเภสัชกรรม คิดแต่จะซื้อยาราคาถูก แต่ไม่ตรงกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และยังมีการหาเศษหาเลยจากงบประมาณจัดซื้อยาทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายของ สปสช.

อ่านต่อฉบับหน้า