Fluticasone furoate และ Vilanterol ต่อการรอดชีพในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังและมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

Fluticasone furoate และ Vilanterol ต่อการรอดชีพในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังและมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

Lancet 2016;387(10030):1817-1826.

บทความเรื่อง Fluticasone furoate and Vilanterol and Survival in Chronic Obstructive Pulmonary Disease with Heightened Cardiovascular Risk (SUMMIT): A Double-Blind Randomised Controlled Trial รายงานว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) มักเกิดร่วมกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งการรักษาภาวะตีบแคบของหลอดลมอาจฟื้นฟูการรอดชีพ รวมถึงผลลัพธ์ด้านทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าการรักษาด้วยยาชนิดสูดพ่นด้วย corticosteroid, fluticasone furoate และ vilanterol ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม long-acting β-agonist สามารถฟื้นฟูการรอดชีพให้ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่มี COPD ระดับปานกลางและมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

การศึกษาเปรียบเทียบด้วยวิธีการสุ่มแบบปกปิดข้อมูลทั้ง 2 ด้าน (SUMMIT) นี้ศึกษาในศูนย์วิจัย 1,368 แห่งใน 43 ประเทศ โดยคัดเลือกผู้ป่วยอายุ 40-80 ปีซึ่งมีปริมาตรอากาศหายใจออกอย่างเต็มที่ในช่วงวินาทีแรก (FEV1) หลังได้รับยาขยายหลอดลมอยู่ระหว่าง 50% และ 70% ของค่าพยากรณ์ มีอัตราส่วน FEV1 หลังได้รับยาขยายหลอดลมต่อปริมาตรสูงสุดของอากาศที่ขับออกโดยการหายใจเต็มที่ (FVC) เท่ากับ 0.70 หรือต่ำกว่า มีประวัติสูบบุหรี่อย่างน้อย 10 ซอง/ปี และมีคะแนนอาการหายใจลำบากประเมินตามดัชนี Medical Research Council ที่ปรับแล้วตั้งแต่ 2 คะแนนขึ้นไป หรือมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยได้รับการสุ่มแบบ permuted blocks (1:1:1:1) เพื่อรับการรักษาด้วยยาชนิดสูดพ่นวันละครั้งได้แก่ ยาหลอก, fluticasone furoate (100 ไมโครกรัม), vilanterol (25 ไมโครกรัม) หรือ fluticasone furoate (100 ไมโครกรัม) ร่วมกับ vilanterol (25 ไมโครกรัม) ผลลัพธ์หลักได้แก่ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ผลลัพธ์รองได้แก่ อัตราการลดลงของ FEV1 และผลรวมเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามการรักษาการวิเคราะห์ความปลอดภัยได้วิเคราะห์ในประชากรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความปลอดภัย (ผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับยาที่ศึกษาวิจัยอย่างน้อย 1 โด๊ส) และการวิเคราะห์ประสิทธิผลได้วิเคราะห์ในประชากรกลุ่ม intention-to-treat population (ประชากรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความปลอดภัยโดยไม่รวมศูนย์วิจัยที่คัดออกจากข้อบกพร่องตาม Good Clinical Practice)

ระหว่างวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2011 ถึงวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2014 มีผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรอง 23,835 คน และได้รับการสุ่ม 16,590 คน กลุ่มประชากร intention-to-treat efficacy population มีจำนวน 16,485 คน โดยกลุ่มยาหลอกมีจำนวน 4,111 คน กลุ่ม fluticasone furoate มีจำนวน 4,135 คน กลุ่ม vilanterol มีจำนวน 4,118 คน และกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบผสมผสานมีจำนวน 4,121 คน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอกพบว่าการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุไม่ได้รับผลจากการรักษาแบบผสมผสาน (hazard ratio [HR] เท่ากับ 0.88 [95% CI อยู่ระหว่าง 0.74-1.04] โดยมี relative reduction เท่ากับ  12%; p = 0.137) หรือองค์ประกอบในการรักษา (fluticasone furoate มี HR เท่ากับ 0.91 [0.77-1.08]; p = 0.284 และ vilanterol เท่ากับ 0.96 [0.81-1.14]; p = 0.655) จึงทำให้ต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ทุติยภูมิอย่างระมัดระวัง อัตราการเสื่อมของ FEV1 ลดลงจากการรักษาแบบผสมผสาน (38 มิลลิลิตรต่อปี [SE 2.4] เทียบกับ 46 มิลลิลิตรต่อปี [2.5] สำหรับยาหลอก โดยเทียบเป็นความต่างเท่ากับ 8 มิลลิลิตรต่อปี [95% CI อยู่ระหว่าง 1-15]) ซึ่งสอดคล้องกับผลลัพธ์จากการรักษาด้วย  fluticasone furoate (ความต่างเท่ากับ 8 มิลลิลิตรต่อปี [95% CI อยู่ระหว่าง 1-14]) แต่ไม่รวมถึง vilanterol (ความต่าง -2 มิลลิลิตรต่อปี [95% CI อยู่ระหว่าง -8 to 5]) การรักษาแบบผสมผสานไม่มีผลต่อผลลัพธ์รวมด้านเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (HR เท่ากับ 0.93 [95% CI อยู่ระหว่าง 0.75-1.14]) โดยสอดคล้องกับผลลัพธ์จาก fluticasone furoate (0.90 [0.72-1.11]) และ vilanterol (0.99 [0.80-1.22]) และแบบแผนการรักษาทั้งหมดสามารถลดอัตราของการกำเริบระดับปานกลางและการกำเริบรุนแรง จากการศึกษาวิจัยไม่พบความเสี่ยงสูงขึ้นต่อปอดอักเสบ (5% ในกลุ่มยาหลอก, 6% ในกลุ่มรักษาแบบผสมผสาน, 5% ในกลุ่ม fluticasone furoate และ 4% ในกลุ่ม vilanterol) หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจ (17% ในกลุ่มยาหลอก, 18% ในกลุ่มรักษาแบบผสมผสาน, 17% ในกลุ่ม fluticasone furoate และ 17% ในกลุ่ม vilanterol)

ข้อมูลจากผู้ป่วย COPD รุนแรงปานกลางและมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดชี้ว่า การรักษาด้วย fluticasone furoate และ vilanterol ไม่มีผลต่ออัตราตายหรือผลลัพธ์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ขณะเดียวกันก็สามารถลดการกำเริบและมีความทนต่อยาที่ดี และการรักษาด้วย fluticasone furoate อย่างเดียวหรือให้ร่วมกับ vilanterol อาจลดการเสื่อมลงของ FEV1