วิเคราะห์และวิจารณ์ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ตอนที่ 3 สรุปคำถามสำคัญที่หลายฝ่ายต้องตอบก่อนออกฎหมายนี้
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
เมื่ออ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว จะเห็นได้ว่ายังมีความไม่เหมาะสมหลายประการ เนื่องจากจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย ทั้งนี้เนื่องจากผู้ยกร่างและนำเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ทำการศึกษาว่าถ้ามีกฎหมายแบบนี้ออกมาจะเกิดผลกระทบอะไรบ้างต่อผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ ระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย รวมทั้งเกิดความเป็นธรรมและเกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมหรือไม่ (ต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด หรือที่เรียกว่าการทำ public hearing หรือการทำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน) กฎหมายนี้ไม่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ และกฎหมายนี้จะทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและสันติสุขในสังคมหรือไม่/อย่างไร
ฉะนั้น บทบาทของผู้ยกร่างกฎหมายจึงมีความสำคัญ 1และต้องมีคุณลักษณะที่ดีดังนี้คือ ต้องทราบปัญหาของสังคมว่าเกิดจากอะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง และจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร และยังมีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ที่สามารถนำมาใช้ได้ (โดยไม่ต้องยกร่างกฎหมายใหม่) และต้องรู้จักออกแบบกลไกที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา ทั้งในแง่การกำหนดหลักเกณท์ที่จะนำไปปฏิบัติ และการจัดองค์กรบังคับการตามกฎหมาย และต้องรู้จักนำกลไกต่าง ๆ มาเขียนเป็นกฎหมายที่จะทำให้ผู้ใช้กฎหมายเข้าใจได้ง่าย มีการปฏิบัติถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
bilecik escortเมื่อมาอ่านร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุขแล้ว จะเห็นได้ว่า
1. ตามที่อ้างว่าร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ที่จะ “สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” นั้นไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้จริง เพราะผู้ป่วยจะขาดความเชื่อถือไว้วางใจต่อบุคลากรทางการแพทย์ เช่น คิดว่าผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับตนที่ (จริงแล้ว) ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของแพทย์นั้น น่าจะเกิดจากความผิดพลาดของแพทย์ และแพทย์เองก็จะเกิดความไม่มั่นใจในการทำงานรักษาผู้ป่วย กลัวว่าจะถูกร้องเรียนจากผู้ป่วย แพทย์จึงอาจจะทำการตรวจพิเศษเกินความจำเป็น หรือไม่รักษาผู้ป่วยนั้นเอง แต่ส่งผู้ป่วยไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้ง ๆ ที่ก็อาจจะไม่ต้องส่งตรวจพิเศษหรืออาจให้การรักษาเองก็ได้
วิจารณ์ การที่ผู้ป่วยขาดความเชื่อถือแพทย์ (ระแวง) หรือการที่แพทย์ขาดความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วย (ระแวงว่าอาจถูกฟ้องร้อง) ย่อมมีผลทำให้แพทย์ต้องระมัดระวังในการให้การรักษาผู้ป่วยมากเกินความจำเป็น เช่น แพทย์จะส่งผู้ป่วยไปทำการส่งตรวจพิเศษที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะมีผลทำให้รัฐบาล (หรือประเทศชาติ) ต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาลโดยไม่จำเป็นในการตรวจพิเศษดังกล่าว
การส่งผู้ป่วยไปหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียเวลานาทีทองในการที่จะได้รับการรักษาหรือได้รับการช่วยชีวิตไว้ เช่น จากไส้ติ่งอักเสบเป็นไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต เด็กเกิดใหม่แทนที่จะได้คลอดออกมาอย่างปลอดภัย กลายเป็นเด็กคลอดออกมาในภาวะขาดออกซิเจน กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจกำลังจะวาย กลายเป็นเสียชีวิตในรถพยาบาลที่กำลังถูกส่งจากโรงพยาบาลชุมชนไปยังศูนย์การแพทย์ เป็นต้น
2. มีกฎหมายอื่นที่สามารถให้ความคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุขอยู่แล้วหรือไม่
มีกฎหมายอื่นที่สามารถให้ความคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุขอยู่แล้ว ได้แก่ กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกฎหมายประกันสังคม (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558) และยังมีกฎหมายวิชาชีพเฉพาะทางที่จะต้องบังคับให้แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานให้มีคุณภาพดี เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
3. ร่างกฎหมายนี้อ้างว่าไม่ต้อง “พิสูจน์ความรับผิด” (ม.5) แต่กฎหมายก็เขียนขัดแย้งกันเองว่า ถ้าเป็นความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากความผิด (ม.8) จะไม่ได้รับการชดเชย
กฎหมายที่ขัดแย้งกันเองในฉบับเดียวกัน จะทำให้ “ผู้ป่วย” เกิดความสับสน ทำให้ “แพทย์” เกิดความไม่มั่นใจในการรักษา และแพทย์เสี่ยงต่อการมี “ตราบาป” ประทับ ว่าทำความผิด จึงทำให้ผู้ป่วยเสียหาย ฉะนั้น กฎหมายนี้จึงทำให้ทั้งผู้ป่วยและแพทย์เกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน อันเป็นการยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระบบบริการสาธารณสุข ดังที่ผู้ยกร่างกฎหมายเขียนไว้แต่อย่างใด
ก็ไม่ต้องมีคณะกรรมการพิจารณาเลย ใครอ้างว่าเสียหายจากการไปโรงพยาบาล ก็จ่ายเงินให้ทุกคนไปเลย
4. ถึงผู้ยกร่างกฎหมาย คณะรัฐมนตรี และ สนช. ก่อนจะออกกฎหมายนี้ ขอคำตอบต่อปัญหาต่อไปนี้ก่อน คือ
4.1 การที่ผู้ยกร่างกฎหมายนี้จะไปแก้กฎหมายประกันสังคม ให้เอาเงินที่สมาชิก (ผู้ประกันตน) จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อสิทธิประโยชน์มากมาย มาจ่ายชดเชยความเสียหาย (หรือบกพร่องของระบบการบริการสาธารณสุข หรือความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของบุคลากรทางการแพทย์หรือโรงพยาบาล) นั้น ผู้ยกร่างกฎหมายนี้ได้สอบถามผู้ประกันตนหรือยังว่าเขาจะยินยอมหรือเปล่า
4.2 การที่จะออกกฎหมายที่มีความขัดแย้งกันเอง และจะมีผลกระทบจากกฎหมายนี้ต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายนี้ ได้แก่ ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่จะเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายนี้เข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี เพื่อผลักดันให้ออกกฎหมายนี้ออกมา ได้รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนส่วนมากหรือยังว่าเขาพอใจ เห็นด้วย พร้อมจะถูกบังคับตามกฎหมายนี้หรือเปล่า
5. คำถามสำคัญ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ก่อนที่จะเสนอกฎหมายนี้เข้าคณะรัฐมนตรี ขอคำตอบต่อปัญหาต่อไปนี้ คือ
5.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดจากกฎหมายฉบับนี้ที่จะตกแก่ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขตามการวิเคราะห์และวิจารณ์ในข้อ 1 แล้วหรือยัง ว่าจะมีผลเช่นนั้นจริงหรือไม่ และจะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยและระบบบริการสาธารณสุขอย่างไร และสมควรที่จะมีกฎหมายแบบนี้หรือไม่ ทำไมไม่คิดใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพ และทำไมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่คิดพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันผ่านความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างความมั่นใจในความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดความสิ้นเปลืองงบประมาณในการตรวจรักษาผู้ป่วยเกินความจำเป็นดังกล่าว
5.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทราบหรือเปล่าว่ามีกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุขอยู่แล้วตามการวิเคราะห์และวิจารณ์ในข้อ 2 ซึ่งควรให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้สามารถใช้กฎหมายเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะไปออกกฎหมายใหม่ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบที่เสียหายดังกล่าวมาแล้วทั้งหมด
คำถามสำคัญ ถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรี และ สนช. ก่อนที่จะเห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ ขอให้ตอบคำถามว่า ท่านควรส่งเสริมให้มีการทำประชาพิจารณ์และพินิจพิเคราะห์ถึงผลดี/ผลเสียที่ร่างพระราชบัญญัตินี้จะมีผลต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติและประชาชนก่อนหรือไม่/อย่างไร
เอกสารอ้างอิง http://psdg.mnre.go.th/download/article/article_20130319161916.pdf