โรคหลอดเลือดขนาดเล็ก และความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Lancet Diabetes Endocrinol. 2016 July;4(7):588-597.
บทความเรื่อง Microvascular Disease and Risk of Cardiovascular Events among Individuals with Type 2 Diabetes: A Population-Level Cohort Study รายงานข้อมูลจากการศึกษาวิจัย Clinical Practice Research Datalink (n = 49,027) ในสหราชอาณาจักร การศึกษาใช้ตัวแบบ multivariable Cox models ประมาณค่า hazard ratios (HRs) สำหรับผลลัพธ์หลัก (ระยะเวลาจนถึงเกิดเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่รุนแรงเป็นครั้งแรก ได้แก่ การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายที่ไม่ถึงแก่ชีวิต หรือหลอดเลือดสมองตีบที่ไม่ถึงแก่ชีวิต) ที่สัมพันธ์กับภาระโรคสะสมจากจอตาเสื่อม ไตเสื่อม และปลายประสาทอักเสบในอาสาสมัครที่ไม่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดเมื่อเริ่มต้น
ระหว่างมัธยฐานการตรวจติดตาม 5.5 ปี พบว่าอาสาสมัคร 2,822 ราย (5.8%) เกิดผลลัพธ์หลัก ภายหลังปรับตามปัจจัยเสี่ยงที่ทราบชัดเจนจึงพบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญสำหรับผลลัพธ์หลักทั้งจอตาเสื่อม (HR เท่ากับ 1.39 ค่า 95% CI อยู่ระหว่าง 1.09-1.76), ปลายประสาทอักเสบ (1.40, 1.19-1.66) และไตเสื่อม (1.35, 1.15-1.58)
ค่า HR ปรับพหุตัวแปรสำหรับผลลัพธ์หลักเท่ากับ 1.32 (95% CI อยู่ระหว่าง 1.16-1.50), 1.62 (1.42-1.85) และ 1.99 (1.70-2.34) ตามลำดับสำหรับผู้ที่มีโรคหลอดเลือดฝอย 1, 2 หรือ 3 ตำแหน่ง เทียบกับผู้ที่ไม่มีโรค สำหรับผลลัพธ์หลักพบว่า การประเมินจำแนกความเสี่ยงชี้ให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อนำภาระโรคจากโรคหลอดเลือดขนาดเล็กมาคำนวณร่วมในตัวแบบ ซึ่งจากอาสาสมัครทั้งหมดพบว่า net reclassification index สำหรับการจำแนกความเสี่ยงตามแนวเวชปฏิบัติของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเท่ากับ 0.036 (95% CI อยู่ระหว่าง 0.017-0.055; p < 0.0001) และ 0.038 (0.013-0.060; p < 0.0001) ตามลำดับ
ภาระโรคสะสมของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากโรคเบาหวานปัจจุบันระบาดไปทั่วโลก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะทำความเข้าใจกลไกอันเป็นสาเหตุของความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมถึงวางแผนลดความเสี่ยงที่สูงขึ้น
beydağ escort bornova escort buca escort çeşme escort çiğli escort dikili escort