ความปลอดภัยลดยาปฏิชีวนะสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหายได้เองในบริการปฐมภูมิ

ความปลอดภัยลดยาปฏิชีวนะสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหายได้เองในบริการปฐมภูมิ

BMJ 2016;354:i3410.

            บทความเรื่อง Safety of Reduced Antibiotic Prescribing for Self Limiting Respiratory Tract Infections in Primary Care: Cohort Study Using Electronic Health Records รายงานข้อมูลจากการศึกษาแบบไปข้างหน้าจากเวชปฏิบัติทั่วไป 610 รายในสหราชอาณาจักรในเครือข่ายการศึกษาวิจัย Clinical Practice Research Datalink เพื่อศึกษาว่าอุบัติการณ์ของปอดอักเสบ ฝีรอบทอนซิล โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ โพรงหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในกะโหลกศีรษะ และ Lemierre’s syndrome สูงกว่าหรือไม่ในเวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งมีอัตราการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่หายเองได้น้อยกว่า

            การศึกษามีขึ้นในผู้ป่วยซึ่งมีระยะการตรวจติดตาม 45.5 ล้านคน ระหว่างปี ค.ศ. 2005-2014 โดยติดตามการปรึกษาแพทย์เนื่องจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งมีการจ่ายยาปฏิชีวนะ และอัตราการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจต่อผู้ป่วย 1,000 ราย ผลลัพธ์หลักได้แก่ อุบัติการณ์ของปอดอักเสบ ฝีรอบทอนซิล โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ โพรงหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในกะโหลกศีรษะ  และ Lemierre’s syndrome ปรับตามกลุ่มอายุ เพศ ภูมิภาค deprivation fifth โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ อัตราการปรึกษาแพทย์เนื่องจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และเวชปฏิบัติทั่วไป

            จากปี ค.ศ. 2005-2014 พบว่าสัดส่วนของการปรึกษาแพทย์เนื่องจากโรคทางเดินหายใจซึ่งได้รับการจ่ายยาปฏิชีวนะลดลงจาก 53.9% เป็น 50.5% ในผู้ชาย และจาก 54.5% เป็น 51.5% ในผู้หญิง โดยเหตุการณ์ของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ และฝีรอบทอนซิลในช่วงเดียวกันลดลงปีละ 5.3%, 4.6% และ 1.0% ตามลำดับ ขณะที่การเกิดปอดอักเสบที่พบใหม่ลดลง 0.4% อุบัติการณ์สำหรับปอดอักเสบและฝีรอบทอนซิลปรับตามอายุและเพศสูงกว่าสำหรับเวชปฏิบัติใน lowest fourth ของการจ่ายยาปฏิชีวนะเทียบกับใน highest fourth  ความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วสำหรับการลดการจ่ายยาปฏิชีวนะ 10% เท่ากับ 12.8% (95% CI อยู่ระหว่าง 7.8%-17.5%; p < 0.001) สำหรับปอดอักเสบ และ 9.9% (5.6%-14.0%; p < 0.001) สำหรับฝีรอบทอนซิล ซึ่งชี้ว่าหากเวชปฏิบัติทั่วไปซึ่งมีขนาดผู้ป่วย 7,000 ราย ลดสัดส่วนของการปรึกษาแพทย์เนื่องจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งมีการจ่ายยาปฏิชีวนะลง 10% ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยปอดอักเสบสูงขึ้นปีละ 1.1 ราย (95% CI อยู่ระหว่าง 0.6-1.5) และสูงขึ้น 0.9 รายในแต่ละ 10 ปี (0.5-1.3) สำหรับฝีรอบทอนซิล ทั้งนี้ความถี่ในการพบโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ โพรงหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในกะโหลกศีรษะ และ Lemierre’s syndrome ใกล้เคียงกันทั้งในเวชปฏิบัติที่จ่ายยาปฏิชีวนะน้อยกว่า และเวชปฏิบัติที่จ่ายยาปฏิชีวนะมากกว่า

  เวชปฏิบัติทั่วไปซึ่งลดการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอาจพบอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นเล็กน้อยสำหรับปอดอักเสบและฝีรอบทอนซิลซึ่งรักษาได้ ขณะที่ไม่พบอุบัติการณ์สูงขึ้นสำหรับโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ โพรงหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในกะโหลกศีรษะ หรือ Lemierre’s syndrome และการลดจ่ายยาปฏิชีวนะลงอย่างมีนัยสำคัญก็อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโดยรวมสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ควรระมัดระวังในกลุ่มย่อยของผู้ป่วยซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อปอดอักเสบ