ก้าวผ่าน...โรคซึมเศร้า ทุกชีวิตมีค่า ทุกปัญหามีทางออก

ก้าวผ่าน ...โรคซึมเศร้า ทุกชีวิตมีค่า ทุกปัญหามีทางออก

            โรคซึมเศร้า จัดว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2563 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านสุขภาพเป็นลำดับที่ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังและเป็นมหันตภัยเงียบ ขณะที่องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในแต่ละปีจะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนประมาณ 1 ล้านคน หรือคิดเฉลี่ยเป็น 1 คนต่อทุก 40 วินาที และยังพบว่าการฆ่าตัวตายติด 1 ใน 10 อันดับแรกของสาเหตุการตายของประชากรโลก และติดอันดับที่ 3 ของสาเหตุการตายสำหรับประชากรวัย 15-35 ปี โดยในหลายประเทศนั้นมีข้อมูลว่าผู้ชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า

            สำหรับประเทศไทยนั้น พบผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 5,000 คนต่อปี ซึ่งมากกว่าการฆ่ากันตายประมาณปีละ 3,000-3,800 คนต่อปี ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อครอบครัว สังคม และประเทศเป็นอย่างมาก

            พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ นายกสมาคมสายใยครอบครัว และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวว่า “คนไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และไม่กล้าพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการ จึงทำให้ประเทศไทยพบจำนวนผู้ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงขึ้นเป็น 6 รายต่อประชากร 100,000 คน ในรอบปีที่ผ่านมา” 

            โดยการฆ่าตัวตายไม่ได้ส่งผลเสียต่อตัวผู้ที่มีความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง เช่น ผู้ที่มีอาการโกรธแล้วมักใช้อารมณ์รุนแรง หากโกรธตัวเองมาก ๆ ก็จะฆ่าตัวตาย แต่ถ้าโกรธผู้อื่นด้วยก็จะทำร้ายผู้อื่นแล้วจึงฆ่าตัวตายตาม โดยร้ายแรงที่สุดคือ กลุ่มคนเหล่านั้นยังคงเป็นห่วงคนในครอบครัวจึงตัดสินใจฆ่าคนในครอบครัวก่อนแล้วจึงฆ่าตัวตายตาม ดังที่มีข่าวในลักษณะนี้ให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในสังคม ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับคุณค่าของชีวิต ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมีทางออกเสมอ เพียงเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารซึ่งกันและกัน จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น และกลายเป็นเกราะป้องกันการเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในอนาคตได้

            จากการศึกษาของกรมสุขภาพจิตเรื่อง การฆ่าตัวตายสำเร็จของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556 ในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่าอัตราการทำร้ายตนเองแต่ไม่เสียชีวิตพบมากสุดในจังหวัดลำพูน และน้อยที่สุดในจังหวัดปัตตานี โดยสัดส่วนการทำร้ายตนเองนั้นเป็นเพศชาย (ร้อยละ 76) มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 22) และในจำนวนของผู้ที่ทำร้ายตนเองจนเสียชีวิตนั้นพบว่า ช่วงอายุที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 40-44 ปี โดยในเพศชายพบว่าผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25-49 ปี ขณะที่เพศหญิงอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 30-59 ปี

            ทั้งนี้มากกว่าร้อยละ 60-90 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีความเกี่ยวข้องกับภาวะโรคซึมเศร้าและสารเสพติด แต่มีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่ปรึกษาแพทย์ หากสามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงโดยการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของคนในชุมชนได้ ก็สามารถจะนำมาเข้าสู่ระบบการรักษาร่วมกับการเข้าไปให้ความรู้เบื้องต้นแก่ประชาชนทั่วไป อันเป็นวิธีการป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง

            “เป็นที่ทราบกันดีว่าในกลุ่มผู้ที่เคยพยายามฆ่าตัวตาย มักจะมีโอกาสการทำซ้ำสูงมาก และนำไปสู่การฆ่าตัวตายจนสำเร็จในที่สุดได้ ถ้าหากไม่สามารถให้การช่วยเหลือเขาเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรักษาทางจิตเวช ก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียมหาศาลตามมาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้วยเหตุนี้ กรมสุขภาพจิตได้มีความพยายามที่จะศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในเชิงลึกถึงสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ คือโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะปัญหาโรคซึมเศร้า เพื่อนำมาซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ไขที่ดีต่อไปพญ.สมรัก กล่าวทิ้งท้าย 

başakşehir escort