เดินออกกำลังที่บ้านในผู้ป่วยหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
JAMA. 2013;310(1):57-65.
บทความเรื่อง Home-Based Walking Exercise Intervention in Peripheral Artery Disease: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า แนวทางเวชปฏิบัติระบุว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการแนะนำให้ผู้ป่วย peripheral artery disease (PAD) เข้าร่วมในแผนออกกำลังกายด้วยการเดินออกกำลังที่บ้าน นักวิจัยจึงศึกษาว่าการจัดแผนเดินออกกำลังกายที่บ้านตามแนวทางบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นกลุ่มด้วยวิธีกลุ่มสนับสนุนและการกำกับตนเองสามารถฟื้นฟูการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ โดยเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพในผู้ป่วย PAD ที่มีหรือไม่มี intermittent claudication
การศึกษาเป็นแบบ randomized controlled clinical trial จากผู้ป่วย PAD 194 ราย ซึ่ง 72% ไม่มีอาการของ intermittent claudication โดยศึกษาระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2012 โดยสุ่มเป็นกลุ่มเดินออกกำลังกายตามแนวทางบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือกลุ่มฝึกควบคุมสมาธิ ซึ่ง primary outcome ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการทดสอบเดิน 6 นาทีที่ 6 เดือน และ secondary outcomes ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงที่ 6 เดือนของการเดินสายพาน, กิจกรรมทางกาย, Walking Impairment Questionnaire (WIQ) และ Physical and Mental Health Composite Scores จาก Short-Form Health Survey 12 ข้อ
ผู้เข้าร่วมวิจัยที่สุ่มเป็นกลุ่มแทรกแซงมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้านระยะการเดิน 6 นาที ([เมตร] 357.4-399.8 vs 353.3-342.2 สำหรับกลุ่มควบคุม; mean difference, 53.5 [95% CI, 33.2-73.8]; p < 0.001), เวลาเดินสายพานสูงสุด (intervention, 7.91-9.44 minutes vs control, 7.56-8.09; mean difference, 1.01 minutes [95% CI, 0.07-1.95]; p = 0.04), การทำกิจกรรมทางกายในระยะ 7 วัน (intervention, 778.0-866.1 vs control, 671.6-645.0; mean difference, 114.7 activity units [95% CI, 12.82-216.5]; p = 0.03), คะแนน WIQ distance score (intervention, 35.3-47.4 vs control, 33.3-34.4; mean difference, 11.1 [95% CI, 3.9-18.1]; p = 0.003) และคะแนน WIQ speed score (intervention, 36.1-47.7 vs control, 35.3-36.6; mean difference, 10.4 [95% CI, 3.4-17.4]; p = 0.004)
แผนการเดินออกกำลังกายที่บ้านสามารถเพิ่มระยะการเดิน การทำกิจกรรมทางกาย และรวมถึงระยะและความเร็วการเดินตามการรับรู้ของผู้ป่วยในผู้ป่วย PAD ที่มีหรือไม่มีอาการของ claudication ได้อย่างมีนัยสำคัญ ผลลัพธ์นี้มีนัยสำคัญต่อผู้ป่วย PAD จำนวนมากที่ไม่สามารถหรือไม่พร้อมเข้าร่วมในแผนการออกกำลังกายโดยมีผู้ควบคุม