แอลกอฮอล์ในมุมมองนิติเวช
Ethanol: Man’s oldest psychoactive substance
สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ
ล่วงเข้าสู่เดือนมีนาคม ฤดูร้อนมาก ๆ ของประเทศไทย ผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อน หลบอากาศร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ใกล้จะมาถึง แต่สำหรับแพทย์นิติเวช หรือแม้กระทั่งแพทย์ทั่วไป อาจต้องเตรียมรับมือกับ “5 วันอันตราย” หรือ “7 วันอันตราย” สุดแท้แต่จำนวนวันหยุดของเทศกาลนั้น ๆ ซึ่งเป็นวันที่ประชาชนจะเข้าสู่บรรยากาศการเลี้ยงฉลอง สังสรรค์ และการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ทำให้การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นกว่าสถานการณ์ปกติ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุจราจร โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลนั้นคือ การขับขี่ขณะมึนเมา ในโอกาสนี้ผู้เขียนจึงหยิบยกประเด็นเรื่องแอลกอฮอล์ มาอรรถาธิบายให้เข้ากับสถานการณ์ที่ใกล้จะถึง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เรานิยมเรียกกันสั้น ๆ และบริโภคกันนั้น แท้จริงคือ เอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล ซึ่งเอทานอลนั้นเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งถูกสันนิษฐานในทางประวัติศาสตร์ว่าเป็น “man’s oldest psychoactive substance” สามารถผลิตได้ทั้งจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี และกระบวนการทางชีวเคมี โดยการหมักพืชผลหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งกระบวนการที่ได้รับความนิยมและวัตถุดิบที่สามารถเลือกใช้ได้มีหลากหลายชนิด โดย
ผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่า ดื่มอย่างไรไม่ให้ 'เมา' ทำไมบางคนเกิดอาการ 'เมา' เร็ว ทำไมบางคนเกิดอาการ 'เมา' ช้า หรือแม้กระทั่ง 'เมา' ในทางการแพทย์หรือในทางกฎหมายนั้นหมายถึงอะไร
ดังกล่าวข้างต้นเป็นปัจจัยทางด้านการดูดซึมและการเปลี่ยนแปลงเอทานอลที่ส่งผลให้ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิดอาการช้าเร็วแตกต่างกัน ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดอยากอยู่ในวงสังสรรค์นาน ๆ ก็รับประทานอาหารมากบ่อย ๆ เข้าไว้ ก็จะทำให้เอทานอลถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดช้าครับ อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ยึดคติในการดื่มว่า ดื่มแต่พอเหมาะและเมาไม่ขับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการพักผ่อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเดินทางอย่างปลอดภัย
ท้ายที่สุดขอทิ้งท้ายตัวบทกฎหมายที่อาจจำเป็นต้องทราบเมื่อจำเป็นต้องขับขี่ยานพาหนะ ดังนี้
พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ (1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น...
พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 142 วรรคสอง “ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว หากผู้นั้นยอมให้ทดสอบและผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) การทดสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”