หัวแตก กะโหลกร้าว สมองช้ำ ล้มเองหรือถูกตี ตอนที่ 2

วพ.490 มุมนิติเวช 3 หน้า

หัวแตก กะโหลกร้าว สมองช้ำ ล้มเองหรือถูกตี ตอนที่ 2

พ.ต.ต.นพ.ณัฐวุฒิ โยธินอุปไมย พ.บ., ว.ว.นิติเวชศาสตร์, น.บ. แพทย์นิติเวช สถาบันนิติเวชวิทยา

            ความเดินตอนที่แล้วได้ทิ้งประเด็นปัญหาเกี่ยวกับมูลเหตุ 2 ข้อของการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ได้แก่ การพลัดตกหกล้ม และการถูกตี พร้อมปูเนื้อหาเกี่ยวกับกายวิภาคของศีรษะมนุษย์ไว้ มาถึงฉบับนี้จะได้พุ่งเป้าเข้าชนประเด็นปัญหาให้คลายสงสัยว่าแพทย์นิติเวชมีหลักอย่างไรในการวินิจฉัยแยกสาเหตุทั้ง 2 ประการของการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง

         การฟกช้ำของสมองแบ่งได้ 6 ลักษณะ

1. Coup contusion

2. Contrecoup contusion (frontal pole) (temporal lobe) 

            อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นของการเกิด contrecoup contusion คือ สามารถเกิดจากการถูกตีได้ ในกรณีที่ศีรษะอยู่นิ่งและนาบไปกับพื้นผิว เช่น ถูกตีหรือกระทืบขณะนอนศีรษะติดพื้นอาจเกิดการฟกช้ำของสมองในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตำแหน่งที่ถูกตีได้ ซึ่งกรณีลักษณะนี้มักพบ coup contusion ร่วมด้วย

3. Fracture contusion

4. Intermediary coup contusion corpus callosum, basal ganglia coup contrecoup

5. Gliding contusion

6. Herniation contusion (medial portion of temporal lobe) (tentorium)

            การแตกของกะโหลกศีรษะมีอยู่หลายลักษณะ เช่น

1. Linear fracture 3-6 1 64.5 1-2

2. Depressed fracture

กรณีตัวอย่าง

            ศพหญิง ประวัติตกจากรถยนต์ขณะรถกำลังแล่น ตกลงมาศีรษะกระแทกกับพื้นถนนเสียชีวิต

รูปที่ 1 บาดแผลถลอกร่วมกับฟกช้ำบริเวณหนังศีรษะด้านซ้าย แสดงถึงมีการกระทบกระแทกในบริเวณดังกล่าว

รูปที่ 2 หนังศีรษะด้านในฟกช้ำ แสดงถึงมีการกระทบกระแทกในบริเวณดังกล่าว

รูปที่ 3 เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกและชั้นบาง พบมากบริเวณสมองใหญ่ซีกขวา โดยเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองนั้นไม่สามารถใช้ในการแปลผลแยกระหว่างการพลัดตกหกล้มหรือถูกตีได้

รูปที่ 4.1 และ 4.2 สมองใหญ่ด้านฐาน (โดยด้านบนของรูปคือสมองใหญ่ซีกซ้าย ด้านล่างของรูปคือสมองใหญ่ซีกขวา) พบการฟกช้ำบริเวณสมองใหญ่ซีกขวาทั้งด้านข้างและด้านฐาน เป็น contrecoup contusion คือ การฟกช้ำของสมองในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตำแหน่งที่ศีรษะมีการกระทบกระแทก

            กรณีตัวอย่างที่นำมาแสดงเป็นกรณีที่ตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน ในการวินิจฉัยแยกว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมองนั้นเกิดจากการพลัดตกหกล้ม หรือการถูกตี เมื่อผ่าศพพบร่องรอยของการกระแทกบริเวณศีรษะด้านซ้าย และมีการฟกช้ำของสมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย จึงสรุปได้ว่าเป็นการพลัดตกหกล้ม

            สรุปรวมความเกี่ยวกับปัญหาการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมองนั้น แพทย์นิติเวชจะทำการตรวจบันทึกตั้งแต่หนังศีรษะภายนอก ภายใน กะโหลกศีรษะ และสมอง ในหลายกรณี ผลการผ่าตรวจศพก็สามารถสรุปฟันธงเกี่ยวกับกลไกการบาดเจ็บได้ เช่น พบบาดแผลขึ้นรูปที่ผิวหนังภายนอก หรือการแตกยุบของกะโหลกศีรษะ ซึ่งสามารถบ่งบอกรูปร่างและขนาดของอาวุธหรือวัตถุที่กระแทกได้ หรือการบาดเจ็บของสมองเมื่อเทียบกับตำแหน่งที่ศีรษะกระแทกก็สามารถบอกกลไกการบาดเจ็บได้ตามที่กล่าวไปข้างต้น อันจะเป็นการคลายปมต่าง ๆ ในคดี และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ตายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป