ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูงและผลลัพธ์การรอดชีพระยะยาว

ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูงและผลลัพธ์การรอดชีพระยะยาว

JAMA Intern Med. Published online July 22, 2013

            บทความเรื่อง Echocardiographic Screening of the General Population and Long-term Survival: A Randomized Clinical Study รายงานว่า การตรวจพบความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในผู้ที่ยังไม่แสดงอาการอาจช่วยให้ทำการรักษาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคได้โดยเร็ว นักวิจัยจึงศึกษาว่าการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงในกลุ่มประชากรทั่วไปเป็นประโยชน์ต่อการรอดชีพระยะยาว หรือลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่

            นักวิจัยศึกษาจากผู้เข้าร่วมวิจัยวัยกลางคน 6,861 ราย จากการศึกษา Tromsø Study ในประเทศนอร์เวย์    โดยสุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นกลุ่มตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (n = 3,272) หรือกลุ่มควบคุม (n = 3,589) และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการตายและอุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจที่ถึงแก่ชีวิตและไม่ถึงแก่ชีวิต และสโตรค

            ระหว่างการติดตาม 15 ปี มีรายงานผู้เข้าร่วมวิจัย 880 ราย (26.9%) ในกลุ่มตรวจหัวใจ และ 989 ราย (27.6%) ในกลุ่มควบคุมเสียชีวิต (hazard ratio, 0.97; 95% CI, 0.89-1.06) โดยไม่พบผลต่างที่มีนัยสำคัญด้าน secondary outcome (การตายอย่างปัจจุบันทันด่วน การตายจากโรคหัวใจ หรืออุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ถึงแก่ชีวิตและไม่ถึงแก่ชีวิต และสโตรค)

            การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงสำหรับความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจและโรคลิ้นหัวใจในกลุ่มประชากรทั่วไปไม่มีประโยชน์ด้านการตาย รวมถึงความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือสโตรค