พฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพและความพิการในผู้ใหญ่อายุมาก

พฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพและความพิการในผู้ใหญ่อายุมาก

BMJ 2013;347:f4240

บทความเรื่อง Unhealthy Behaviours and Disability in Older Adults: Three-City Dijon Cohort Study รายงานผลลัพธ์จากการศึกษา Three-City study ในฝรั่งเศสซึ่งศึกษาแบบ population based cohort study เพื่อประเมินความสัมพันธ์ทั้งแบบแยกและรวมของพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพ (ออกกำลังกายน้อย/ปานกลาง, รับประทานผักและผลไม้น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง, สูบบุหรี่/เลิกสูบมาได้ไม่นาน, ไม่เคยดื่มเหล้า/เคยดื่มเหล้า/ดื่มเหล้าจัด) ซึ่งประเมินในช่วงเริ่มการติดตามและค่า hazard ต่อความพิการในผู้ใหญ่อายุมาก และเพื่อประเมินบทบาทของตัวแปรสอดแทรกต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว

ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นชาวฝรั่งเศส 3,982 ราย (2,410 [65%] เป็นผู้หญิง) ซึ่งมีอายุ 65 ปีหรือมากกว่า และเข้าร่วมการศึกษาระหว่างปี ค.ศ. 1999-2001 ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกรายไม่มีความพิการที่พื้นฐานขณะประเมินพฤติกรรมสุขภาพ

มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ ลำดับชั้นความพิการ (ไม่มี, น้อย, ปานกลาง, รุนแรง) จากการประเมินความพิการสามด้าน (การเคลื่อนไหว, การใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน, กิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน) ซึ่งประเมินห้าครั้งระหว่างปี ค.ศ. 2001 และ 2012

ระหว่างการติดตาม 12 ปี มีรายงานผู้เกิดความพิการปานกลางหรือรุนแรง 1,236 ราย (ผู้หญิง 861 [69.7%] ราย) ผลลัพธ์จาก interval censored survival analyses (ปรับตามอายุ, เพศ, สถานการณ์แต่งงาน และการศึกษา) ชี้ว่าการออกกำลังกายน้อย/ปานกลาง (hazard ratio 1.72, 95% confidence interval 1.48-2.00), รับประทานผักและผลไม้น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง (1.24, 1.10-1.41) และการสูบบุหรี่/เลิกสูบมาได้ไม่นาน (1.26, 1.05-1.50) สัมพันธ์โดยอิสระกับ hazard ที่สูงขึ้นต่อความพิการ ขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ชัดเจนกับการดื่มเหล้า ค่า hazard ต่อความพิการเพิ่มขึ้นตามจำนวนพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพที่สัมพันธ์โดยอิสระกับความพิการ (p < 0.001) โดยผู้เข้าร่วมวิจัยซึ่งมีพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพสามพฤติกรรมมี hazard ของความพิการสูงขึ้น 2.53 (1.86-3.43) เท่าเทียมกับผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพ นักวิจัยตรวจสอบอคติต่อสาเหตุตาลปัตรโดยคัดผู้เข้าร่วมวิจัยที่เกิดความพิการภายใน 4 ปีแรกของการติดตามออก ซึ่งการวิเคราะห์จากความพิการ 890 ราย ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน ผลลัพธ์ชี้ว่า 30.5% ของความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพและความพิการเป็นผลจากดัชนีมวลกาย การรับรู้ อาการซึมเศร้า การบาดเจ็บ โรคเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และปัจจัยเสี่ยง โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ โรคเรื้อรัง และปัจจัยที่ส่งผลกระทบน้อยลงมา ได้แก่ อาการซึมเศร้า การบาดเจ็บ และดัชนีมวลกาย

รูปแบบการดำเนินชีวิตที่บั่นทอนสุขภาพสัมพันธ์กับค่า hazard ที่สูงขึ้นต่อการเกิดความพิการ และค่า hazard สูงขึ้นตามจำนวนของพฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพ โดยโรคเรื้อรัง อาการซึมเศร้า การบาดเจ็บ และดัชนีมวลกายมีบทบาทส่วนหนึ่งในความสัมพันธ์ดังกล่าว