E-cigarettes and smoking cessation in real-world and clinical settings: a systematic review and meta-analysis
บุหรี่ไฟฟ้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้สูบบุหรี่ใช้เป็นทางเลือกโดยกล่าวอ้างว่า “จะทำให้ลดการสูบบุหรี่ลง จะทำให้สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ จะทำให้สัมผัสกับสารพิษน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสูบบุหรี่แบบปกติ จะทำให้บุคคลรอบข้างไม่ได้รับอันตรายจากการสัมผัสควัน” แต่อย่างไรก็ตาม คำกล่าวนี้เป็นเพียง “ความเชื่อหรือความคิดเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น” Kalkhoran และคณะ ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกบุหรี่ โดยทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและอภิวิเคราะห์ โดยสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ต่าง ๆ และ คัดเลือกงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงตามเกณฑ์ ACROBAT-NRSI tool และ the Cochrane Risk of Bias Tool ผลการวิจัยพบว่า มีงานวิจัยจำนวน 20 ฉบับ (15 cohort studies, three cross-sectional studies, and two clinical trials) ที่ถูกนำไปเข้าสู่การอภิวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) ผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีแต้มต่อในการสามารถเลิกบุหรี่ได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 28 เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า (odds ratio [OR] 0·72, 95% CI 0·57-0·91), I2>70 2) ไม่พบความสัมพันธ์ว่าหากใช้บุหรี่ไฟฟ้าแล้วจะทำให้เลิกบุหรี่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่เข้ากระบวนการเลิกบุหรี่ (cigarette cessation) (OR 0·63, 95% CI 0·45-0·86 vs 0·86, 0·60-1·23; p=0·94), I2>70 นอกจากนี้ ยังพบอีกงานวิจัยของ Hajek และคณะ ที่แสดงให้เห็นว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ nicotine replacement therapy (ซึ่งมีราคาสูงกว่า มีวิธีการใช้ยุ่งยากกว่า เข้าถึงได้ยากกว่า) และต้องทำร่วมกับการปรับพฤติกรรมที่มีผู้สนับสนุนเป็นอย่างดี จากงานวิจัยทั้งสองสามารถสรุปได้ว่า “ไม่สามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในการช่วยเลิกบุหรี่ได้”
ที่มา: