Ten things to know about ten cardiovascular disease risk factors
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การลดการเสียชีวิตหรือลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่อย่างไรก็ตาม สามารถทำได้ยากมากเนื่องจากเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยตรงและเปลี่ยนแปลงได้ยาก การไม่ให้ความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมหรือการไม่มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการปรับพฤติกรรม จะทำให้การรักษาไม่เกิดประสิทธิผลสูงสุด Harold E และคณะ ได้ทบทวนวรรณกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบันและเสนอแนวคิดในการจัดการความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดไว้ 10 ประการ ดังนี้ 1) การจัดการด้านยาอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะยาโรคเรื้อรังที่ต้องให้ความร่วมมือในการรับประทาน, 2) การจำกัดการรับประทานสารอาหารกลุ่ม carbohydrates อย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแบบเฉพาะราย, 3) รับประทานอาหารแบบ DASH 4) เพิ่มสัดส่วนการรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น 5) ยังไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ระบุว่าการรับประทาน ketogenic จะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้, 6) การควบคุมน้ำหนักให้ได้เกณฑ์มาตรฐานหรือลดน้ำหนัก 7) การควบคุมหรือจัดการตารางการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม, 8) ยังไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ใด ๆ ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ จะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้, 9) การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสาร omega-3 fatty acids อาจมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และ 10) กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคนี้ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อีก เช่น การเพิ่มการออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น จะมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ที่มา: Harold E. Bays, Pam R. Taub, Elizabeth Epstein, Erin D. Michos, Richard A. Ferraro, Alison L. Bailey, et al. Ten things to know about ten cardiovascular disease risk factors, American Journal of Preventive Cardiology, Volume 5, 2021