น้ำมันปลา (Fish oil)
อ.ดร.ภก.สิกขวัฒน์ นักร้อง วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดมาจากปลาจากแหล่งธรรมชาติ มีส่วนประกอบคือ โอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ จึงต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น(7)
เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริโภคน้ำมันปลา ควรเลือกน้ำมันปลาที่มาจากปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันสูง ซึ่งมักเป็นปลาน้ำเค็มในเขตหนาว เช่น ปลาในทะเลน้ำลึกประเทศนอร์เวย์ เพราะบริเวณนั้นเป็นแหล่งทะเลน้ำลึกที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีสิ่งแวดล้อมและอาหารที่เหมาะสมแก่การสร้างโอเมก้า-3 ในเนื้อปลา(8) ทำให้คุณภาพปลามีปริมาณโอเมก้า-3 สูงสุด
ทั้งนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกน้ำมันปลา ผู้บริโภคมักต้องการประโยชน์หลักจากสารในกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Omega-3 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจบางชนิด, อาการปวดข้อ, การอักเสบและช่วยในด้านความจำ(7) โดยเฉพาะ DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง(6) และดวงตา(1) ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในเด็ก(7) ได้อีกด้วย
มีการศึกษาในมนุษย์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของโอเมก้า-3 ในเรื่องเกี่ยวกับระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด, ความดันโลหิต, การป้องกันความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจ, การลดการปวดข้อและข้ออักเสบรูมาตอยด์ และอื่น ๆ อยู่พอสมควร(2,8,9) นอกจากนี้ยังมีรายงานจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 ว่าการใช้น้ำมันปลาอาจมีผลดีกับความจำเมื่อใช้ร่วมกับวิตามินบีบางชนิด เช่น วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ได้อีกด้วย(11) อย่างไรก็ดี พึงตระหนักว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นไม่สามารถใช้รักษาโรคได้
ดังนั้น การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกน้ำมันปลาส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคมักต้องการประโยชน์จากสาร Omega-3 คือ EPA และ DHA เป็นหลัก ซึ่งประโยชน์จากการรับประทานสารจำพวก Omega-3 ที่พบว่ามีการศึกษาในมนุษย์ยืนยันประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ได้แก่(1)
รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาในรูปแบบแคปซูลนิ่ม(5)
การบริโภคน้ำมันปลา(2,8,9,10)
ยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานทั่วไปสำหรับขนาดรับประทานโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลา เพื่อดูแลเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้รับประทานปลาในขนาดที่ให้ EPA และ DHA เท่ากับวันละ 200-500 มิลลิกรัม อย่างไรก็ดี มีการแนะนำให้รับประทานโอเมก้า-3 ในขนาด 1.1 กรัมต่อวันในผู้หญิง และ 1.6 กรัม ต่อวันในผู้ชาย แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 3 กรัมต่อวัน ส่วนขนาดรับประทานสำหรับเด็กเล็กนั้นยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนระบุไว้
น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์สำหรับบุคคลเหล่านี้(3,4)
ตารางที่ 1 ขนาดของ Omega-3 (EPA + DHA) ที่แนะนำในแต่ละข้อบ่งใช้ (12)
ผู้ที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานน้ำมันปลา(2) ได้แก่
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการบริโภคน้ำมันปลานั้นถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็มีข้อควรระวังที่ต้องใส่ใจเช่นกัน ดังนั้น การศึกษาข้อมูลก่อนที่จะรับประทานจึงเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงจากอาหารเสริมได้ หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามข้อมูลเพื่อเติมจากแพทย์หรือเภสัชกร
เอกสารอ้างอิง