พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการโครงการร่วม 2 หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา” และ โครงการวิทย์กีฬา/เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการโครงการร่วม 2 หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา” และ โครงการวิทย์กีฬา/เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) ขึ้น ณ ห้องประชุม 910BC ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีพันธกิจสำคัญในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และนักฉุกเฉินการแพทย์ หรือ Paramedic นับว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยที่มีความฉุกเฉินเร่งด่วน โดยการผนวกเข้ากันระหว่าง สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ถือเป็นมิติใหม่ของการดูแลผู้ป่วยเร่งด่วนที่เป็นบุคลากรสำคัญในด้านการกีฬาได้เป็นอย่างดี
เวชศาสตร์การกีฬา เป็นศาสตร์หนึ่งทางการแพทย์ที่มีบทบาทในการประเมินและดูแลรักษาผู้บาดเจ็บจากกีฬา โดยมีบุคลากรเฉพาะทางที่สำคัญ ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา นักกายภาพบำบัด และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ทำหน้าที่ดูแลผู้บาดเจ็บในสนามแข่งขันกีฬา และมีบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นักฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Advanced emergency medical technician: AEMT) หรือ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency medical technician: EMT) ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้บาดเจ็บระหว่างส่งต่อไปยังสถานพยาบาล เมื่อบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินได้เข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวนี้ จะทำให้การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บทั้งในสนามแข่งขันกีฬาและระหว่างส่งต่อสถานพยาบาลร่วมกับบุคลากรด้านเวชศาสตร์การกีฬามีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
โครงการร่วม 2 หลักสูตรนี้ จะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2565 โดยเปิดรับนักเรียนที่มีความสนใจเป็นนักฉุกเฉินการแพทย์เฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน 5 คน ตลอดระยะเวลาการศึกษาทั้ง 2 หลักสูตร จำนวน 5 ปี และจะได้รับปริญญา 2 ใบ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ และ ปริญญาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา รายละเอียดหลักสูตร สามารถติดตามได้ทาง Facebook “Rama Medic”
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ประชาชนและพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งแนวคิดในการจัดทำโครงการร่วม 2 หลักสูตร กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งเน้นการสร้าง “นักฉุกเฉินการแพทย์ที่มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา” ให้สามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งในสถานพยาบาลและจุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธีและรวดเร็วที่สุด ลดความเสี่ยงของการเกิดเหตุฉุกเฉินในภาวะวิกฤตในระหว่างการแข่งขันกีฬา หรือการเสียชีวิต
Bu işbirliği anlaşmasının imzalanması Spor acil tıbbi kaynaklarının oluşturulması ve geliştirilmesinde önemli bir işbirliğidir. Tıp Fakültesi Ramathibodi Hastanesi arasında Mahidol Üniversitesi ve Spor Bilimi ve Teknolojisi Koleji. Mahidol Üniversitesi Bu, eğitim, araştırma ve acil sağlık hizmetlerinin entegrasyonu ve genişletilmesi olarak kabul edilir. spor müsabakalarının düzenlenmesinde ve yeniliklerin geliştirilmesinde Akademik ve profesyonel ilerlemeyi sağlamak, geniş bir alana yayılmak için spor müsabakalarının yönetiminde acil sağlık hizmetleri standardını değiştirmek ve yükseltmek. ve uluslararası standartlara uygun olarak