ห้องพักผู้ป่วยต้นแบบที่สามารถควบคุมค่าพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายใน: การศึกษานำร่องในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
อากาศภายในโรงพยาบาล” เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและเชื่อมโยงกับสุขภาพของทุกคนในโรงพยาบาล (1-4) จากการทบทวนวรรณกรรมพบงานวิจัยจำนวนมากที่สนใจศึกษาคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล (1-11) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ส่วนใหญ่เป็นการสำรวจปัญหาและแนะนำการแก้ไขเบื้องต้นเท่านั้น โดยมีงานวิจัยไม่มากนักที่ระบุถึงรายละเอียดของวิธีการแก้ไขที่ชัดเจน สำหรับประเด็นที่ไม่พบเลย คือ วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม นินนาท ราชประดิษฐ์ และคณะ จึงดำเนินการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์: 1. สำรวจคุณภาพอากาศภายในห้องต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร 2. สร้างนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และ 3. ทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพในอากาศของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น วิธีวิจัย: งานวิจัยและพัฒนาครั้งนี้สำรวจความคิดเห็นของบุคลากร 30 รายในโรงพยาบาลเกี่ยวกับห้องที่มีปัญหาคุณภาพของอากาศ หลังจากนั้น ผู้วิจัยตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในห้องที่เลือกจากห้องที่บุคลากรแจ้งว่ามีปัญหาโดยวิธีการวางจานอาหารเลี้ยงเชื้อและเพาะเชื้อ จากนั้น กลุ่มออกแบบนวัตกรรมระดมความเห็นด้วยวิธี systematic inventive thinking การตรวจสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นของนวัตกรรมที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการเดียวกับที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพอากาศ ผลการวิจัย: บริเวณที่บุคลากรคิดว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคารมากที่สุด (พิจารณาจากค่าฐานนิยม) ได้แก่ บริเวณโถงตรวจผู้ป่วยนอก ห้องพักผู้ป่วยเดี่ยว และหอผู้ป่วยรวม ตามลำดับ ผลการตรวจเชื้อจุลชีพในอากาศให้ผลสอดคล้องกับความคิดเห็นของบุคลากร นวัตกรรมที่ได้จากการระดมสมอง คือ ห้องพักผู้ป่วยต้นแบบที่ถูกปรับปรุงให้เป็นห้องที่สามารถควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพอากาศได้ การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นของนวัตกรรมพบจำนวนโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย/เชื้อราในห้องพักผู้ป่วยต้นแบบลดลงจากเดิมก่อนทำความสะอาดห้อง 95/5 โคโลนี และหลังทำความสะอาดห้อง 18/20 โคโลนีเป็น 10/4 โคโลนี ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคและเชื้อราในปริมาณน้อยมาก สรุป: ห้องพักผู้ป่วยต้นแบบที่สามารถควบคุมค่าพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายใน มีผลการทดสอบนำร่องเป็นที่น่าพอใจ จึงสมควรมีการทดสอบในห้องต่าง ๆ ที่มีจำนวนและความหลากหลายมากขึ้น
ที่มา: Rachapradit N, Poowaruttanawiwit P, Sirilak S, Butthum B, Wannalerdsakun S. Prototype of Patient Room with Capability to Control Parameters Affecting Indoor Air Quality: A Pilot Study at Naresuan University Hospital. 2021 TJPP: in press.
travesti partner avcilar escort izmir escort esenyurt escort tuzla escort