Pharmacotherapy for Esophagitis and GERD

Esophagitis (EP) และ Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) เป็นภาวะผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งเกิดจากการมีกรดหลั่งออกมาจากกระเพาะอาหารมากเกินไปจนเกิดกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงหลอดอาหารและมีการทำลายของเนื้อเยื่อบุหลอดอาหาร ข้อมูลระบาดวิทยาทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย แสดงให้เห็นความชุกของโรคนี้ประมาณร้อยละ 30 อาการแสดงของภาวะนี้ คือ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก แต่จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทยพบว่ามักมีความรุนแรงไม่มาก หากจัดระดับความรุนแรงโดยใช้ Los Angeles classification การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะนี้ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น 1) การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน 2) การวัดค่าความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร หรือใช้ Bravo capsule 3) การตรวจ multiple intraluminal electrical impedance pH 4) การทดสอบการตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ยากลุ่ม proton pump inhibitor (PPI) 5) การตรวจทางพยาธิวิทยา 6) การทำ Bernstein test และ 7) การตรวจ esophageal manometry แนวทางการรักษาภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การปรับพฤติกรรมใด ๆ ที่จะเพิ่มการหลั่งกรดออกมาในทางเดินอาหาร และ 2) การใช้ยาลดการหลั่งกรด ซึ่งยาที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์สนับสนุนมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของอาการไม่มาก คือ ยากลุ่ม PPI ซึ่งจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและประเมินผลการรักษา ณ 4-8 สัปดาห์

ที่มา: Hungin APS, Molloy-Bland M, Scarpignato C. Revisiting Montreal: New Insights into Symptoms and Their Causes, and Implications for the Future of GERD. Am J Gastroenterol. 2019 Mar;114(3):414-21.