Boosters Reduce COVID Deaths in Patients With Multimorbidity
ขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 4 ของการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาด เริ่มมีการเปิดประเทศ ซึ่งทำให้พบอุบัติการณ์การระบาดของโรคกลับขึ้นมาอีกเป็นบางแห่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป การป้องกันหรือบรรเทาไม่ให้อาการแสดงของโรครุนแรงขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่เหลืออยู่และควรทำ Chenchula และคณะ ทำวิจัยโดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อหวังผลประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีประโยชน์มากกว่าโทษ โดยพบว่า วัคซีนเข้มกระตุ้น (BNT162b2 (Pfizer BioNTech), mRNA‐1273(Moderna), ChAd/ChAd (Oxford–AstraZeneca)) สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ลดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ให้ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ งานวิจัยที่พบยังไม่สามารถนำผลมารวมกันและทำการอภิวิเคราะห์ได้ และในการนำไปใช้ผู้กำหนดนโยบายจะต้องมีแผนการจัดการให้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย และในอนาคตยังคงต้องเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ต่อไปอีกหลังมีการเปิดประเทศมากขึ้น
ที่มา: Chenchula S, Karunakaran P, Sharma S, Chavan M. Current evidence on efficacy of COVID-19 booster dose vaccination against the Omicron variant: A systematic review. J Med Virol. 2022 Jul;94(7):2969-2976. doi: 10.1002/jmv.27697. Epub 2022 Mar 14. PMID: 35246846; PMCID: PMC9088621.