ผลลัพธ์การรอดชีพระยะยาวจาก Prostate Cancer Prevention Trial
N Engl J Med 2013;369:603-610
บทความเรื่อง Long-Term Survival of Participants in the Prostate Cancer Prevention Trial อ้างถึงข้อมูลจากงานวิจัย Prostate Cancer Prevention Trial (PCPT) รายงานว่า finasteride ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อมะเร็งแบบรุนแรง โดยนักวิจัยได้วิเคราะห์อัตราการรอดชีพในกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยและผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจากการติดตามนานสูงสุด 18 ปี
นักวิจัยรวบรวมข้อมูลอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้เข้าร่วมงานวิจัย PCPT เพิ่มเติมอีกหนึ่งปีหลังรายงานผลการศึกษาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2003 และสืบค้นฐานข้อมูล Social Security Death Index เพื่อประเมินสถานการณ์รอดชีพจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011
จากผู้เข้าร่วมงานวิจัย 18,880 ราย มีรายงานพบมะเร็งต่อมลูกหมากใน 989 รายจาก 9,423 ราย (10.5%) ในกลุ่ม finasteride และ 1,412 รายจาก 9,457 ราย (14.9%) ในกลุ่มยาหลอก (relative risk ในกลุ่ม finasteride เท่ากับ 0.70; 95% confidence interval [CI], 0.65-0.76; p < 0.001) จากกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้ประเมินผลพบว่า 333 ราย (3.5%) ในกลุ่ม finasteride และ 286 ราย (3.0%) ในกลุ่มยาหลอกเป็นมะเร็งแบบ high grade (Gleason score, 7-10) (relative risk, 1.17; 95% CI, 1.00-1.37; p = 0.05) จากกลุ่มที่เสียชีวิตพบว่า 2,538 รายอยู่ในกลุ่ม finasteride และ 2,496 รายอยู่ในกลุ่มยาหลอก โดยมีอัตรารอดชีพที่ 15 ปี เท่ากับ 78.0% และ 78.2% ผล hazard ratio ต่อการตายที่ยังไม่ได้ปรับในกลุ่ม finasteride เท่ากับ 1.02 (95% CI, 0.97-1.08; p = 0.46) อัตราการรอดชีพ 10 ปี เท่ากับ 83.0% ในกลุ่ม finasteride และ 80.9% ในกลุ่มยาหลอกสำหรับผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแบบ low grade และ 73.0% และ 73.6% สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแบบ high grade
การรักษาด้วย finasteride ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้ประมาณหนึ่งในสาม มะเร็งต่อมลูกหมากแบบ high grade พบมากกว่าในกลุ่ม finasteride เทียบกับยาหลอก แต่หลังจากการติดตาม 18 ปีก็ไม่พบผลต่างที่มีนัยสำคัญด้านอัตราการรอดชีพโดยรวม หรือการรอดชีพหลังตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมาก
hdabla izmir escort şişli escort izmit escort bodrum escort avcılar escort shell-shockers