เปรียบเทียบเครื่องช่วยหายใจแบบ Noninvasive ในทารกคลอดก่อนกำหนด

เปรียบเทียบเครื่องช่วยหายใจแบบ Noninvasive ในทารกคลอดก่อนกำหนด

N Engl J Med 2013;369:611-620

            บทความเรื่อง A Trial Comparing Noninvasive Ventilation Strategies in Preterm Infants รายงานว่า มีความพยายามลดการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยการนำเครื่องเป่าความดันลมเปิดขยายทางเดินหายใจมาใช้โดยเร็วเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยมาก นักวิจัยจึงดำเนินการศึกษาโดยสุ่มให้ทารก 1,009 รายที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1,000 g และมี gestational age ต่ำกว่า 30 สัปดาห์ ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ได้แก่ nasal intermittent positive-pressure ventilation (IPPV) หรือ nasal continuous positive airway pressure (CPAP) ตั้งแต่เริ่มใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่าง 28 วันแรกหลังคลอด โดยผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การตายก่อน postmenstrual age ครบ 36 สัปดาห์ หรือการรอดชีพโดยเป็นโรคปอดเรื้อรัง

            จากทารก 497 รายที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ nasal IPPV พบทารก 191 รายตาย หรือรอดชีวิตโดยเป็นโรคปอดเรื้อรัง (38.4%) เทียบกับ 180 รายจาก 490 รายในกลุ่ม nasal CPAP (36.7%) (adjusted odds ratio, 1.09; 95% confidence interval, 0.83-1.43; p = 0.56) และพบว่าความถี่ของการเกิดลมรั่วและลำไส้เน่า ระยะการใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาจนถึงการรับอาหารได้เต็มที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม

            ข้อมูลจากการศึกษาในทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมากชี้ว่า อัตราการรอดชีพจนถึง postmenstrual age ได้ 36 สัปดาห์ โดยไม่เป็นโรคปอดเรื้อรังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญภายหลังการช่วยหายใจด้วย nasal IPPV เทียบกับ nasal CPAP