ความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดจากการใช้ยาต้านซึมเศร้าช่วงใกล้คลอด
BMJ 2013;347:f4877
บทความเรื่อง Use of Antidepressants near Delivery and Risk of Postpartum Hemorrhage: Cohort Study of Low Income Women in the United States รายงานผลจากงานวิจัยแบบ cohort study เพื่อศึกษาว่าการใช้ serotonin หรือ non-serotonin reuptake inhibitors ในช่วงใกล้คลอดสัมพันธ์กับความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดหรือไม่
นักวิจัยใช้ข้อมูลจาก Medicaid data (Medicaid Analytic eXtract) ระหว่างปี ค.ศ. 2000-2007 รวมหญิงตั้งครรภ์ 106,000 ราย อายุระหว่าง 12-55 ปี ซึ่งตรวจพบภาวะอารมณ์แปรปรวนหรือวิตกกังวล โดยจัดผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มตามข้อมูลการจ่ายยา ได้แก่ กลุ่มที่ยังคงได้รับยา (วันคลอด), เพิ่งได้รับยา (1-30 วันก่อนคลอด), เคยได้รับยา (1-5 เดือนก่อนคลอด) และไม่เคยได้รับยา (กลุ่มอ้างอิง)
มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ ความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดตามระยะการได้รับยาและตามการได้รับ serotonin หรือ non-serotonin reuptake inhibitors, กลุ่มยาต้านซึมเศร้า และชนิดของยาต้านซึมเศร้า ค่า relative risks และ 95% confidence intervals ปรับตามปีที่คลอด, ปัจจัยเสี่ยงภาวะตกเลือดหลังคลอด, ตัวชี้วัดความรุนแรงของอารมณ์แปรปรวน/วิตกกังวล, ข้อบ่งใช้อื่นของยาต้านซึมเศร้า และยาอื่น โดยใช้วิธี high dimensional propensity score (hdPS) สำหรับระบุและปรับปัจจัยเพิ่มเติม
มีผู้หญิง 12,710 ราย (12%) ที่ยังคงได้รับ serotonin reuptake inhibitor และ 1,495 ราย (1.4%) ยังคงได้รับ non-serotonin reuptake inhibitor ความเสี่ยงภาวะตกเลือดหลังคลอดเท่ากับ 2.8% ในผู้หญิงที่มีภาวะอารมณ์แปรปรวน/วิตกกังวล แต่ไม่เคยได้รับยาต้านซึมเศร้า, 4.0% ในกลุ่มที่ยังคงได้รับ serotonin reuptake inhibitors, 3.8% ในกลุ่มที่ยังคงได้รับ non-serotonin reuptake inhibitors, 3.2% ในกลุ่มที่เพิ่งได้รับ serotonin reuptake inhibitors, 3.1% ในกลุ่มที่เพิ่งได้รับ non-serotonin reuptake inhibitors, 2.5% ในกลุ่มที่เคยได้รับ serotonin reuptake inhibitors และ 3.4% ในกลุ่มที่เคยได้รับ non-serotonin reuptake inhibitors เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้านซึมเศร้าพบว่า ผู้หญิงที่ยังคงได้รับ serotonin reuptake inhibitors มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดสูงขึ้น 1.47 เท่า (95% confidence interval 1.33-1.62) และผู้หญิงที่ยังคงได้รับ non-serotonin reuptake inhibitor มีความเสี่ยงสูงขึ้น 1.39 เท่า (1.07-1.81) และยังคงได้ผลลัพธ์สอดคล้องกันเมื่อปรับ hdPS ผู้หญิงที่ยังคงได้ serotonin reuptake inhibitors มี excess risk ที่ปรับแล้วเท่ากับ 1.26% (0.90-1.62%) โดยมี number needed to harm เท่ากับ 80 และสำหรับผู้หญิงที่ยังคงได้รับ non-serotonin reuptake inhibitors มี excess risk เท่ากับ 1.03% (0.07-1.99%) โดยมี number needed to harm เท่ากับ 97 การได้รับ serotonin reuptake inhibitors มี relative risk เท่ากับ 1.19 (1.03-1.38) สำหรับกลุ่มเพิ่งได้รับยาและ 0.93 (0.82-1.06) สำหรับกลุ่มที่เคยได้รับยา และสำหรับ non-serotonin reuptake inhibitors มีค่าเท่ากับ 1.17 (0.80-1.70) และ 1.26 (1.00-1.59) การที่ยังคงได้รับการรักษาด้วย selective serotonin reuptake inhibitor แบบ monotherapy สัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอด (1.42, 1.27-1.57) เช่นเดียวกับ serotonin norepinephrine (noradrenaline) reuptake inhibitor (1.90, 1.37-2.63) และ tricyclic แบบ monotherapy (1.77, 0.90-3.47) และพบด้วยว่า selective serotonin reuptake inhibitors ทุกชนิดที่ศึกษา และ venlafaxine ซึ่งเป็น serotonin norepinephrine reuptake inhibitor สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตกเลือดหลังคลอด
การได้รับ serotonin และ non-serotonin reuptake inhibitors รวมถึง selective serotonin reuptake inhibitors, serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors และ tricyclics ในช่วงใกล้คลอดสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น 1.4 และ 1.9 เท่าต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด และแม้ยังไม่อาจตัดผลกระทบจากตัวแปรแฝงออก แต่ผลลัพธ์นี้เสนอแนะว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าระหว่างช่วงใกล้คลอดมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด
bergama escort beydağ escort bornova escort buca escort çeşme escort çiğli escort dikili escort eryaman escort foça escort gaziemir escort