ตรวจ Intraoperative Cholangiography และความเสี่ยงอันตรายต่อท่อน้ำดีร่วมระหว่างตัดถุงน้ำดี

ตรวจ Intraoperative Cholangiography และความเสี่ยงอันตรายต่อท่อน้ำดีร่วมระหว่างตัดถุงน้ำดี

JAMA. 2013;310(8):812-820.

            บทความเรื่อง Association Between Cholecystectomy With vs Without Intraoperative Cholangiography and Risk of Common Duct Injury รายงานว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการตรวจ intraoperative cholangiography สำหรับป้องกันอันตรายต่อท่อน้ำดีร่วมระหว่างการตัดถุงน้ำดี นักวิจัยจึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจ intraoperative cholangiography ระหว่างการตัดถุงน้ำดีและอันตรายต่อท่อน้ำดีร่วม โดยศึกษาแบบ retrospective cohort study จากข้อมูลการเบิกประกันสุขภาพ Medicare จากปี ค.ศ. 2000-2009 นักวิจัยศึกษาจากผู้เบิกประกัน Medicare ที่อายุ 66 ปี หรือมากกว่า ซึ่งได้รับการตัดถุงน้ำดีแบบผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกเนื่องจาก biliary colic หรือ biliary dyskinesia, acute cholecystitis หรือ chronic cholecystitis และเปรียบเทียบผลลัพธ์จากตัวแบบ multilevel logistic regression models กับ instrumental variable analyses

            การตรวจ intraoperative cholangiography ระหว่างการตัดถุงน้ำดีประเมินที่ระดับผู้ป่วย (ใช่/ไม่ใช่), โรงพยาบาล (ร้อยละของการตรวจ intraoperative cholangiography สำหรับการตัดถุงน้ำดีทั้งหมดโดยศัลยแพทย์)    โดยกำหนดให้ร้อยละของการตรวจที่โรงพยาบาลและร้อยละของการตรวจโดยศัลยแพทย์เป็นตัวแปรเครื่องมือ และกำหนดให้ผู้ป่วยที่ขอเบิกประกันจากการผ่าตัดรักษาท่อน้ำดีร่วมภายใน 1 ปีหลังการตัดถุงน้ำดีเป็นผู้เกิดการบาดเจ็บของท่อน้ำดีร่วม

            มีผู้ป่วย 37,533 ราย (40.4%) ที่ตรวจ intraoperative cholangiography และ 280 ราย (0.30%) เกิดการบาดเจ็บของท่อน้ำดีร่วมจากผู้ป่วยที่ได้รับการตัดถุงน้ำดี 92,932 ราย อัตราการบาดเจ็บที่ท่อน้ำดีร่วมเท่ากับ 0.21% ในกลุ่มที่ตรวจ intraoperative cholangiography และ 0.36% ในกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจ โดยผลจาก logistic regression model ที่ควบคุมปัจจัยด้านลักษณะของผู้ป่วย, ศัลแพทย์ และโรงพยาบาลชี้ว่า ค่า odds ของการบาดเจ็บที่ท่อน้ำดีร่วมสำหรับการตัดถุงน้ำดีที่ไม่ได้ตรวจ intraoperative cholangiography สูงขึ้นเทียบกับการผ่าตัดที่ได้ตรวจ (OR, 1.79 [95% CI, 1.35-2.36]; p < 0.001) แต่เมื่อควบคุมตัวแปรกวนด้วย instrumental variable analysis พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดถุงน้ำดีที่ไม่ได้ตรวจ intraoperative cholangiography และการบาดเจ็บที่ท่อน้ำดีไม่มีนัยสำคัญ (OR, 1.26 [95% CI, 0.81-1.96]; p = 0.31)  

            ข้อมูลจากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการตรวจ intraoperative cholangiography และการบาดเจ็บที่ท่อน้ำดีร่วมภายหลังควบคุมตัวแปรกวนด้วย instrumental variable analysis     การตรวจ intraoperative cholangiography จึงไม่มีประโยชน์ในฐานะการป้องกันการบาดเจ็บของท่อน้ำดีร่วมระหว่างการตัดถุงน้ำดี