ประเมินความเสี่ยงมะเร็งต่อมไทรอยด์จากอัลตราซาวนด์

ประเมินความเสี่ยงมะเร็งต่อมไทรอยด์จากอัลตราซาวนด์

JAMA Intern Med. Published online August 26, 2013.

            บทความเรื่อง Risk of Thyroid Cancer Based on Thyroid Ultrasound Imaging Characteristics: Results of a Population-Based Study รายงานว่า ปัจจุบันยังคงมีความแตกต่างด้านแนวทางจัดการกับก้อนที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งพบจากภาพอัลตราซาวนด์ นักวิจัยจึงประเมินความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่สัมพันธ์กับการพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์จากอัลตราซาวนด์ โดยศึกษาแบบ retrospective case-control study จากผู้ป่วยที่ได้ตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 ถึง 30 มีนาคม ค.ศ. 2005 และระบุมะเร็งต่อมไทรอยด์จากความเชื่อมโยงกับทะเบียน California Cancer Registry

            ผู้ป่วย 8,806 รายตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ 11,618 ครั้งระหว่างช่วงการวิจัย โดยมีผู้ป่วย 105 รายตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ ก้อนที่ต่อมไทรอยด์พบได้บ่อยในทั้งผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็ง (96.9%) และไม่พบมะเร็ง (56.4%) ลักษณะสามข้อที่พบจากการตรวจอัลตราซาวนด์ ได้แก่ microcalcifications (odds ratio [OR], 8.1; 95% CI, 3.8-17.3), ขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร (OR, 3.6; 95% CI, 1.7-7.6) และเป็นก้อนทึบทั้งหมด (OR, 4.0; 95% CI, 1.7-9.2) เป็นผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมไทรอยด์ หากใช้ลักษณะที่ 1 เป็นข้อบ่งชี้การตรวจชิ้นเนื้อจะทำให้ตรวจพบมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้มาก (sensitivity, 0.88; 95% CI, 0.80-0.94) โดยมีอัตรา false-positive ที่สูง (0.44; 95% CI, 0.43-0.45) และ positive likelihood ratio ที่ต่ำ (2.0; 95% CI, 1.8-2.2) และต้องตรวจชิ้นเนื้อ 56 รายต่อการตรวจพบมะเร็งทุกหนึ่งราย หากใช้ลักษณะที่ 2 เป็นข้อบ่งชี้การตรวจชิ้นเนื้อจะมีความไวและอัตรา false-positive ต่ำกว่า (sensitivity, 0.52; 95% CI, 0.42-0.62; false-positive rate, 0.07; 95% CI, 0.07-0.08) ขณะที่ positive likelihood ratio จะสูงกว่า (7.1; 95% CI, 6.2-8.2) และลดการตรวจชิ้นเนื้อเหลือเพียง 16 รายต่อการตรวจพบมะเร็งทุกหนึ่งราย และเมื่อเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อสำหรับก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่ใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตรทั้งหมดพบว่า การพิจารณาตรวจชิ้นเนื้อที่ต้องมีความผิดปกติของก้อน 2 ลักษณะจะสามารถลดการตรวจชิ้นเนื้อที่ไม่จำเป็นได้ถึง 90% โดยที่ยังมีความเสี่ยงมะเร็งต่ำ (ผู้ป่วย 5 รายต่อ 1,000 รายที่ไม่ได้ตรวจชิ้นเนื้อ)

            การอัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์สามารถระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงมะเร็งต่ำและไม่จำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อ โดยนักวิจัยเสนอแนะให้นำผลลัพธ์นี้ไปพิสูจน์ในการศึกษาแบบ prospective cohort ที่มีขนาดใหญ่

şanlıurfa escort van escort afyon escort eskişehir escort ığdır escort karaisalı escort aksu escort konyaaltı escort kastamonu escort