การตรวจศพบ่งชี้ถึงสาเหตุและกระบวนการที่ทำให้ตายได้ : รายงานผู้ตาย 1 ราย

การตรวจศพบ่งชี้ถึงสาเหตุและกระบวนการที่ทำให้ตายได้ : รายงานผู้ตาย 1 ราย
Disclosure of Cause and Mechanism of Death by Full Autopsy: A Case Report

นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ พ.บ., ว.ว.นิติเวชศาสตร์*
*รองศาสตราจารย์ภาควิชานิติเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

           การชันสูตรพลิกศพจำต้องกระทำการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติถึง “ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการชันสูตรพลิกศพ” ตามมาตรา 1481 แต่อย่างไรก็ตาม เพียงแต่การชันสูตรพลิกศพอย่างเดียวไม่สามารถที่จะทำให้ทราบถึง “สาเหตุที่ตายหรือพฤติการณ์แห่งการตาย” หรือ “กระบวนการที่เกิดขึ้นจนเป็นสาเหตุแห่งการตาย” ได้เสมอไป การที่จะทำให้ทราบถึงสาเหตุและการบวนการที่ตายจำเป็นต้องทำการ “ผ่าศพตรวจอย่างละเอียด” อันเป็นไปตามมาตรา 151 และมาตรา 152 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั่นเอง1 แต่แม้กระนั้นก็ตามก็ยังมีอยู่ไม่น้อยที่ไม่สามารถหาสาเหตุการตายและพฤติการณ์แห่งการตาย (undetermined cause of death) ในเรื่องนี้ผู้เขียนได้รายงานผู้เสียชีวิตหนึ่งรายที่ดูเหมือนกับว่าจะเป็นการตายจากอุบัติเหตุจราจร แต่แท้ที่จริงมาจากโรคธรรมชาติของตนเองจากหัวใจขาดเลือด

 

……………การตายในผู้ตายรายนี้เมื่อรวบรวมจากประวัติและพยาธิสภาพที่ตรวจพบจากศพแล้ว ประมวลได้ว่า หัวใจของผู้ตายรายนี้อยู่ในสภาพที่ขาดเลือดมาเลี้ยง แต่ยังอาจพอทนต่อสภาพดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง จนกระทั่งในวันเกิดเหตุที่อาจมีสภาพบางประการเกิดกับผู้ตาย (precipitating cause) เช่น ตกใจ เครียดจากเหตุหนึ่งเหตุใดในขณะที่ขี่รถสามล้อ (ซาเล้ง) ทำให้หัวใจขาดเลือดมาเลี้ยงเฉียบพลัน ทำให้ตกลงมาจากรถสามล้อจนถูกนำตัวส่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการผ่าตัดสมอง ซึ่งในที่สุดก็ถึงแก่ความตายจากพยาธิสภาพของสมองนั่นเอง

 

กรณีอุทาหรณ์ (รายงานผู้ตาย 1 ราย)

            ประวัติโดยรวม: (ภาพที่ 1)

            ผู้ตายอายุ 60 ปีเศษ มีอาชีพซื้อขายของเก่า ถีบจักรยานสามล้อ (ซาเล้ง) ไปตามหมู่บ้านเพื่อรับซื้อและขายของเก่ามานาน

            วันเกิดเหตุวันที่ 18 พฤษภาคม ผู้ตาย (ในขณะนั้นยังถือว่าเป็นผู้ป่วย) ถูกพบว่านอนที่ริมถนน มีผู้ให้ประวัติว่า เห็นผู้ป่วยตกลงมาจากรถสามล้อถีบและนอนแน่นิ่งไม่รู้ตัว เมื่อเข้าไปเพื่อช่วยเหลือก็พบว่า “ไม่รู้สึกตัว” จึงรีบตามมูลนิธิกู้ชีพแล้วนำส่งตัวมารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช

            ผู้ป่วยเมื่อแรกเข้าไม่รู้สึกตัว (คะแนนในการประเมิน Glasglow Coma Scale ได้ 3T เท่านั้น) แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายแล้วพบว่าผู้ป่วยมีเลือดออกในโพรงกะโหลกศีรษะบริเวณใต้เยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าทั้งสองข้าง (bifrontal subdural hematoma) อีกทั้งยังพบว่าเนื้อสมองส่วนหน้าช้ำอย่างมากและมีรอยฉีกขาดร่วมด้วย ซึ่งการที่มีเลือดออกนั้นจำต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะนำเลือดที่ค้างออก (craniectomy with clotted removal, both frontal lobes) ผู้ป่วยไม่รู้สตินับแต่หลังผ่าตัดสมองเป็นต้นมา

            5 วันหลังการผ่าตัดผู้ป่วยเสียชีวิต และเนื่องจากเป็นกรณีสาเหตุที่เกิดนั้นอาจเกิดจากอุบัติเหตุจราจร หรือเกิดขึ้นโดยมิปรากฏสาเหตุอย่างแท้จริงประการหนึ่งประการใด (ตามมาตรา 148)1 จึงจำต้องมีการชันสูตรพลิกศพและทำการตรวจศพอย่างละเอียดต่อมาเพื่อหาสาเหตุที่ตายและพฤติการณ์ที่ตายอย่างแท้จริงต่อไป โดยพนักงานสอบสวนจะส่งศพเพื่อการตรวจต่อโดย “ใบนำส่งผู้บาดเจ็บหรือศพให้แพทย์ตรวจชันสูตร” (ภาพที่ 2)

            หมายเหตุ:

            ผู้เห็นเหตุการณ์ตามที่กล่าวถึงนั้นไม่ยืนยันว่า มีรถคันอื่นมาชนรถสามล้อถีบของผู้ตายหรือไม่ หรืออาจจะเป็นด้วยสาเหตุอื่นใด แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ตายจะมิได้ตาย ณ ที่ริมถนน (ถูกนำมาที่โรงพยาบาลแล้วก็ตาม) แต่การที่เหตุเกิดในที่สาธารณะโดยมิได้มีผู้เห็นกระจ่าง อีกทั้งพบว่าการตายของผู้ตาย “เกี่ยวเนื่องจากการที่ศีรษะได้รับการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง” และที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณะและไม่มีผู้ที่เห็นเหตุการณ์อย่างชัดแจ้งจึงเข้าข่ายการต้องชันสูตรพลิกศพ1

            การตรวจศพ:

            - ผู้ตายมีอายุประมาณ 65 ปี รูปร่างสันทัดถึงท้วม ผิวอย่างชาวเอเชีย ผมสีดำสั้นมากเนื่องจากถูกโกนออก เพราะได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อนำเลือดที่ออกจากใต้เยื่อหุ้มสมองตอนหน้าออกทั้งสองข้าง

            - ศพแข็งตัวเต็มที่แล้ว พบเลือดตกลงสู่เบื้องต่ำหลังเสียชีวิตที่หลังได้ชัดเจน

            - ผู้ตายไม่ไว้หนวดและเครา แต่ยังพบขนาดของหนวดเคราอย่างสั้น ๆ ได้ราว 0.3-0.5 เซนติเมตร

            - ตรวจพบบาดแผลดังต่อไปนี้

                        - บาดแผลฟกช้ำที่หนังศีรษะส่วนหลังมีลักษณะรอยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร

                        - บาดแผลผ่าตัดเพื่อการรักษามีรอยจากบริเวณขมับขวาและซ้าย ได้รับการเย็บแผลไว้เรียบร้อยแล้ว

            - แขนและขาอยู่ในสภาพเหยียดตรง

            - ไม่พบส่วนของแขนและขางอผิดรูป

            - คอ รอบคอ ไม่พบลักษณะช้ำหรือการเคลื่อนของส่วนคอผิดปกติ

            สภาพศพภายใน:

            - ใต้ชั้นหนังศีรษะส่วนหน้าและส่วนบนมีลักษณะช้ำอย่างมาก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะไว้

            - กะโหลกศีรษะส่วนหลังด้านขวา (fracture of right occipital bone) แตกเป็นทางยาวประมาณ 8 เซนติเมตร

            - กะโหลกศีรษะส่วนหน้าทั้งสองข้างได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะออก เพื่อการระบายเลือดที่คั่งออก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร (bifrontal craniectomy with clotted removal)

            - พบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกระจายทั้งสองข้างกลีบหน้าของสมอง และส่วนบนของเนื้อสมองด้วย

            - เนื่องสมองกลีบหน้าทั้งสองข้างมีลักษณะยุ่ยคล้ายเนื้อสมองฉีกขาด (ภาพที่ 3 และภาพที่ 4)

            - พบเลือดออกในเนื้อสมองกระจายเป็นหย่อมเล็ก ๆ ทั่วไปทั้งในเนื้อสมองส่วนหน้า สมองส่วนข้าง และบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ

            - พบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นในกระจายทั่วไปทั้ง 2 กลีบข้างของสมองและที่ฐานสมองลงไปจรดที่น้ำในไขสันหลัง

            - เนื้อสมองบวมและช้ำอย่างมาก

            - หน้าตัดของเนื้อสมองกลีบหน้าด้านขวามีหย่อมเลือดออกค่อนข้างใหญ่น่าจะประมาณ 1.5 เซนติเมตร

            - ซี่โครงด้านซ้ายที่ 2-6 หักด้านข้างของหน้าอก

            - ซี่โครงด้านขวาที่ 1-6 หักที่บริเวณส่วนข้างของอก

            - ปอดทั้งสองข้างคั่งเลือด ช้ำเล็กน้อยและมีลักษณะที่ติดกับผนังด้านในของช่องอก ด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวกันแต่ไม่พบพยาธิสภาพแห่งโรคติดเชื้อใหม่ชัดเจนพบได้ชัดที่ปอดซ้าย

            - พบของเหลวสีแดงในช่องอกทั้งสองข้าง พบว่ามีปริมาณน้อยกว่า 20 ลบ.ซม.

            - หัวใจมีขนาดอยู่ในเกณฑ์โตกว่าปกติเล็กน้อย

            - ตรวจพบหย่อมที่ผิดปกติที่หัวใจดังนี้ (ภาพที่ 5)

                        ก. หย่อมสีแดงคล้ำเข้มที่ผนังด้านหลังของหัวใจห้องล่างขวา เมื่อฝานหน้าตัดของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวพบว่ามีเลือดออกในกล้ามเนื้อ มีอาณาบริเวณเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร อย่างชัดเจน ลักษณะเกิดจากหัวใจบริเวณดังกล่าวมีเลือดออกจากการขาดเลือดมาเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน (ภาพที่ 6)

                        ข. ปื้นสีขาวที่ด้านหลังของหัวใจห้องล่างซ้าย เมื่อฝานหน้าตัดของกล้ามเนื้อที่บริเวณผนังกั้นกลางหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา (interventricular septum) แล้วพบว่ามีปื้นสีขาว ลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจตายเก่าและเปลี่ยนสภาพเป็นพังผืดให้เห็นอย่างชัดเจน (ภาพที่ 7)

            - ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจต่อเนื่องยังพบปื้นขาวที่ใกล้บริเวณยอดของหัวใจ (apex) บางส่วน

            - เมื่อตรวจเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจพบว่า

                        ก. หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจด้านซ้าย (anterior descending branch of left coronary artery) มีสภาพการตีบ (stenosis) อย่างมากและบางช่วงราวกว่าร้อยละ 95 (segmental stenosis)  (ภาพที่ 8)

                        ข. หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเส้นขวา (right coronary artery) และเส้นซ้ายวกหลัง (left circumflex artery) อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างปกติ ตีบไม่ถึงร้อยละ 50

            - กระเพาะอาหารพบอาหารเหลวสีเหลืองคล้ำประมาณ 50 ลบ.ซม.

            - ตับ ม้าม ไต และลำไส้ในช่องท้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่พบพยาธิสภาพที่จะเป็นสาเหตุแห่งการตาย

            - กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

            - ไม่พบน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ

            - ไม่พบกระดูกแขนและขาหัก

            สาเหตุการตาย:

                        กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงทำให้หัวใจหยุดทำงาน

            พฤติการณ์ที่ตาย:

                        เหตุธรรมชาติจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง

 

วิเคราะห์และวิจารณ์

            ประวัติผู้ตายมีสภาพแห่งความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจราจร:

            ผู้ตายรายนี้เป็นชายอายุ 65 ปี รูปร่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์สันทัด แม้ว่าจะท้วมก็เล็กน้อยเท่านั้น รูปร่างต้องถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีพยาธิสภาพที่อาจสังเกตได้จากภายนอก

            จากประวัติที่ผู้ตายรายนี้ถีบรถสามล้อ (ซาเล้ง) มาตามถนนแล้วก็ล้มลง จนมีผู้นำส่งที่โรงพยาบาลนั้น ยังไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ อาจเกิดจากการที่ผู้ตายถูกรถอื่นเฉี่ยวชน เช่น กำลังลงมาจัดของหรือเดินอยู่ข้างรถสามล้อเพื่อเหตุผลประการหนึ่งประการใดก็ได้

            การบาดเจ็บข้างทางสาธารณะกับการช่วยชีวิต:

            แม้ว่าผู้ตายรายนี้จะถูกนำส่งมาเพื่อการรักษาที่โรงพยาบาล (ขณะที่มาถึงโรงพยาบาล ในระยะแรกยังไม่เสียชีวิต) แพทย์จึงรีบทำการขบวนการกู้ชีพและตรวจผู้ป่วยซึ่งได้ทราบถึงสาเหตุแห่งการบาดเจ็บว่ามีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองที่บริเวณเนื้อสมองกลีบหน้าทั้งสองข้าง และได้ทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อนำเอาเลือดที่ออกใต้เยื่อหุ้มสมองที่ค้างอยู่นั้นออกเสีย ซึ่งสามารถทำการผ่าตัดได้สำเร็จแต่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมาโดยตลอด

            ผู้ป่วยรายนี้ต้องถือว่า “อยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ ทางการแพทย์ต้องถือว่า “อยู่ในสภาพฉุกเฉิน” ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม

            ก. ข้อ 4 แห่งคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย2

            “ข้อ 4 ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่”

            ข. มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 25503

            “มาตรา 8 ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้

            ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

            ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

            (๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต และมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน

            (๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ แล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้”

            ค. มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 25514

            มาตรา 28 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้หน่วยปฏิบัติการสถานพยาบาลและผู้ปฏิบัติการดำเนินการปฏิบัติการฉุกเฉินตามหลักการดังต่อไปนี้

            (๑) ตรวจคัดแยกระดับความฉุกเฉินและจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์ฉุกเฉิน

            (๒) ผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินจนเต็มขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติการหรือสถานพยาบาลนั้นก่อนการส่งต่อ เว้นแต่มีแพทย์ให้การรับรองว่าการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเสียชีวิตหรือความรุนแรงขึ้นของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น

            (๓) การปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินต้องเป็นไปตามความจำเป็นและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมิให้นำสิทธิการประกันการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล หรือความสามารถในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยฉุกเฉินหรือเงื่อนไขใด ๆ มาเป็นเหตุปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉินให้ไม่ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินอย่างทันท่วงที

            หน่วยปฏิบัติการหรือสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลผู้ปฏิบัติการให้ดำเนินการปฏิบัติการฉุกเฉินเป็นไปตามหลักการตามวรรคหนึ่ง

            ง. มาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายอาญา5

            “มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

            ในผู้ป่วยรายนี้ต้องถือว่าแพทย์ได้ดำเนินการทางการแพทย์ (รวมถึงการผ่าตัด) ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

            การชันสูตรพลิกศพ:

            ผู้ป่วยเสียชีวิตใน 5 วันต่อมา เนื่องจากสภาพของการบาดเจ็บที่ศีรษะ (ที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว) แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในรายนี้จะเป็นการตายเนื่องจากพยาธิสภาพที่สมอง (ในเนื้อสมอง) ก็ตาม แต่ต้องถือว่าเป็นการตายที่เป็นผลตามธรรมดา ตามมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั่นเอง ซึ่งต้องถือว่าเป็นการตายสืบเนื่องจากการที่ผู้ตาย “ถูกพบที่ริมถนนและนำส่งมานับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลในสภาพที่ไม่รู้ตัว” จึง “เข้าข่ายการตายผิดธรรมชาติประเภทหนึ่งด้วย จึงจำต้องดำเนินการจัดให้มี “การชันสูตรพลิกศพ” โดยแพทย์และพนักงานสอบสวนแห่งสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่นั้น

            การดำเนินการต่อเนื่องหลังการชันสูตรพลิกศพ:

            หลังจากการชันสูตรพลิกศพแล้ว ผู้ตายรายนี้ได้ถูกนำมาเพื่อการตรวจต่อ (จากหอผู้ป่วยไอซียู มาที่ห้องตรวจศพ) และได้ทำการผ่าศพตรวจต่อ (ตามมาตรา 152 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) ซึ่งจากการตรวจศพในผู้ตายรายนี้ ทำให้เกิดความกระจ่างขึ้น

            การตรวจพบพยาธิสภาพจากศพ:

            ในการผ่าศพตรวจนั้นได้พบพยาธิสภาพที่สำคัญอยู่ 2 ตำแหน่งอวัยวะคือ

            1. สมอง: พบว่า

            มีเนื้อสมองบวมและพยาธิสภาพ

            - มีเนื้อสมองกลีบหน้าทั้งสองข้างฉีกขาดและมีเลือดออกเป็นบริเวณเล็ก ๆ ในเนื้อสมองกลีบหน้าทั้งสองข้าง

            - มีเลือดออกในเนื้อสมองกลีบหน้าด้านขวาเป็นหย่อมใหญ่ ราว 1.5 เซนติเมตร

            2. หัวใจ: พบว่า

            ก. หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตอนหน้า (anterior descending branch of left coronary artery) มีลักษณะตีบอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงการจำกัดของการนำเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังระหว่างหัวใจห้องล่างทั้งสองห้อง

            ข. กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาส่วนหลังพบว่ามีหย่อมเลือดออกอย่างชัดเจน (ไม่พบตอนหน้า) แสดงถึงการที่มีสภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงบางส่วน

            ค. กล้ามเนื้อหัวใจส่วนผนังกั้นระหว่างหัวใจสองห้องล่าง (interventricular septum) พบว่ามีปื้นซีดลักษณะจากเนื่อเยื่อพังผืดที่เปลี่ยนสภาพมาจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และมีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอตามธรรมชาติ

            กระบวนการที่ทำให้ถึงแก่ความตาย:

            การตายในผู้ตายรายนี้เมื่อรวบรวมจากประวัติและพยาธิสภาพที่ตรวจพบจากศพแล้ว ประมวลได้ว่าหัวใจของผู้ตายรายนี้อยู่ในสภาพที่ขาดเลือดมาเลี้ยง แต่ยังอาจพอทนต่อสภาพดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง จนกระทั่งในวันเกิดเหตุที่อาจมีสภาพบางประการเกิดกับผู้ตาย (precipitating cause) เช่น ตกใจ เครียดจากเหตุหนึ่งเหตุใดในขณะที่ขี่รถสามล้อ (ซาเล้ง) ทำให้หัวใจขาดเลือดมาเลี้ยงเฉียบพลัน ทำให้ตกลงมาจากรถสามล้อจนถูกนำตัวส่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการผ่าตัดสมอง ซึ่งในที่สุดก็ถึงแก่ความตายจากพยาธิสภาพของสมองนั่นเอง

            สรุปพฤติการณ์แห่งการตาย:

            พยานหลักฐานทางการแพทย์จากผู้เสียชีวิตรายนี้สามารถแสดงให้เห็นได้ถึงพฤติการณ์แห่งการตายว่า “เป็นการตายตามธรรมชาติ (จากโรค)” โดยสาเหตุเริ่มต้นจากหัวใจ

 

สรุป

            การตายที่เกิดขึ้นในที่สาธารณะอย่างเฉียบพลันต้องถือว่าเป็น “การตายผิดธรรมชาติ” แม้ว่าการตายดังกล่าวจะมิใช่ตายโดยทันทีดังเช่นในกรณีตามอุทาหรณ์ข้างต้นที่เสียชีวิตในเวลาถึง 5 วันต่อมา แต่ในทางกฎหมายถือว่าเป็น “ผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้” จึงต้องทำการชันสูตรพลิกศพเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งทำให้เป็นที่ประจักษ์ว่าสาเหตุแห่งการตายเป็นเหตุตามธรรมชาติที่เกิดจากการที่หัวใจขาดเลือดทำให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและสมองจนทำให้เสียชีวิต และพฤติการณ์แห่งการตายในผู้ตายรายนี้ก็คือ “การตายจากเหตุธรรมชาติ” นั่นเอง จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการชันสูตรพลิกศพและการตรวจศพนั้นมีความสำคัญ และทำให้เกิดความกระจ่างในการตาย (เสียชีวิตได้) ทำให้ชีวิตของผู้ที่อยู่ในสังคมถูกพิทักษ์ไว้โดยความมุ่งหมายของกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

 

 

เอกสารอ้างอิง

            1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code1307.pdf

            2. คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย. พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 และคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2542.

            3. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๑/๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐.

            4. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๔ ก, ๖ มีนาคม ๒๕๕๑

            5. ประมวลกฎหมายอาญา. http://legal-informatics.org/file/3.pdf

istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanbul escort istanb