สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นในทางเดินหายใจ (Foreign Body in Respiratory Tract)
พญ.ชนากานต์ สุวัฒนศิลป์, แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3
อ.นพ.สรวิศ สวัสดิ์มงคลกุล, อาจารย์แพทย์
ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง, อาจารย์แพทย์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นในทางเดินหายใจ
ระบาดวิทยา
สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยที่สุดคืออาหาร โดยมากจะไม่สามารถเห็นได้จากการตรวจด้วยเอกซเรย์ การอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุน้อยกว่า 2 ปี
โดย 75% ของผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 9 ปี อุบัติการณ์พบสูงสุดในช่วงอายุ 1-2 ปี และจะพบน้อยลงเมื่ออายุมากกว่า 3 ปี เนื่องจากเด็กในวัย 1-2 ปีนี้สามารถยืนและใช้ปากในการสำรวจสิ่งของ นอกจากนี้ทักษะการใช้ fine motor ในการจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ได้ดี แต่ฟันกรามยังไม่พัฒนาให้สามารถเคี้ยวอาหารได้ดี จึงเกิดสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นในทางเดินหายใจได้บ่อย
สิ่งแปลกปลอมที่พบได้บ่อยสุดในเด็กเล็ก ได้แก่ อาหาร ในขณะที่สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นที่ไม่ใช่อาหารจะพบได้บ่อยกว่าในเด็กที่โตกว่า ได้แก่ เหรียญ คลิปหนีบกระดาษ เข็มหมุด ปลอกปากกา ลูกโป่ง ลูกบอล ลูกแก้ว และของเล่นอื่น ๆ
ปัจจัยที่ทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นอันตราย ได้แก่ เป็นวัตถุกลมโดยมักทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจโดยสมบูรณ์ วัตถุนั้นทำให้แตกได้ยาก วัตถุถูกบีบอัดได้ หรือวัตถุมีพื้นผิวเรียบและลื่น
ตำแหน่งที่พบสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นบ่อยจะแตกต่างกันตามช่วงอายุ โดยในเด็กพบเพียง 50% ที่จะมีการอุดกั้นในทางเดินหายใจส่วนต้น เพราะโดยมากจะพบอุดกั้นใน bronchial tree มากกว่า แต่ถ้าวัตถุที่มีขนาดใหญ่และ แหลมคม หรือขอบไม่เรียบก็อาจติดอยู่ที่ larynx ได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ตำแหน่งที่พบในทางเดินหายใจส่วนปลายของเด็กพบได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 ข้าง ซ้ายและขวา เนื่องจาก bronchus ของเด็กทำมุมเท่า ๆ กัน ซึ่งต่างจากผู้ใหญ่ที่ข้างขวามีมุมแคบกว่า
ในผู้ใหญ่จะพบอุบัติการณ์สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นในทางเดินหายใจดังนี้