การบริโภคผลไม้และความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2

การบริโภคผลไม้และความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2

BMJ 2013;347:f5001

            บทความเรื่อง Fruit Consumption and Risk of Type 2 Diabetes: Results from Three Prospective Longitudinal Cohort Studies รายงานผลจากการศึกษาแบบ prospective longitudinal cohort study เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากการบริโภคผลไม้แต่ละชนิด โดยศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยผู้หญิง 66,405 รายที่เข้าร่วมในการศึกษา Nurses’ Health Study (1984-2008), ผู้หญิง 85,104 รายจากการศึกษา Nurses’ Health Study II (1991-2009) และผู้ชาย 36,173 รายจากการศึกษา Health Professionals Follow-up Study (1986-2008) ซึ่งไม่มีโรคเรื้อรังที่เส้นฐานของแต่ละการศึกษา โดยให้การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประเมินจากรายงานของผู้เข้าร่วมวิจัยและผลตอบแบบสอบถามเป็นมาตรวัดผลลัพธ์

            ระหว่างการติดตาม 3,464,641 ราย มีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นโรคเบาหวาน 12,198 ราย เมื่อปรับตามปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งด้านบุคคล วิถีชีวิต และอาหาร พบว่า pooled hazard ratio ของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับการบริโภคผลไม้ทุก 3 ส่วน/สัปดาห์ เท่ากับ 0.98 (95% confidence interval 0.96-0.99) เมื่อปรับตามชนิดของผลไม้พบว่า pooled hazard ratios ต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับการบริโภคผลไม้ทุก 3 ส่วน/สัปดาห์ เท่ากับ 0.74 (0.66-0.83) สำหรับบลูเบอร์รี, 0.88 (0.83-0.93) สำหรับองุ่นและลูกเกด, 0.89 (0.79-1.01) สำหรับพรุน, 0.93 (0.90-0.96) สำหรับแอปเปิ้ลและแพร์, 0.95 (0.91-0.98) สำหรับกล้วย, 0.95 (0.91-0.99) สำหรับเกรปฟรุต, 0.97 (0.92-1.02) สำหรับพีช พลัม และแอปริคอต, 0.99 (0.95-1.03) สำหรับส้ม, 1.03 (0.96-1.10) สำหรับสตรอเบอร์รี และ 1.10 (1.02-1.18) สำหรับแคนตาลูป ขณะที่ pooled hazard ratio สำหรับการบริโภคน้ำผลไม้ทุก 3 ส่วน/สัปดาห์ เท่ากับ 1.08 (1.05-1.11) ซึ่งความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผลไม้แต่ละชนิด (p < 0.001 in all cohorts)

            ข้อมูลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างด้านความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผลไม้แต่ละชนิด และความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การบริโภคผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งมากขึ้น โดยเฉพาะบลูเบอร์รี องุ่น และแอปเปิ้ลสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขณะที่การบริโภคน้ำผลไม้มากขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น