ผลระยะยาวป้องกันทุติยภูมิต่อความจำในผู้ป่วยสโตรค

ผลระยะยาวป้องกันทุติยภูมิต่อความจำในผู้ป่วยสโตรค

Circulation. 2013;128:1341-1348.

บทความเรื่อง Long-Term Effects of Secondary Prevention on Cognitive Function in Stroke Patients รายงานว่า ข้อมูลการติดตามระยะยาวที่มีจำกัดยังคงเป็นอุปสรรคในการประเมินผลของการป้องกันทุติยภูมิต่อความจำในผู้ป่วยหลังเกิดสโตรคครั้งแรก นักวิจัยจึงดำเนินการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการป้องกัน vascular events ในระดับทุติยภูมิต่อความจำหลังเกิดสโตรค

ข้อมูลรวบรวมระหว่างปี ค.ศ. 1995-2011 (n = 4,413) จากทะเบียน South London Stroke Register ครอบคลุมประชากรในพื้นที่ 271,817 ราย และใช้ modified Poisson regression models เพื่อปรับสถานะความจำที่ 3 เดือน, ลักษณะทางประชากรและสังคมเศรษฐานะ, ส่วนผสมผู้ป่วย, กลุ่มย่อยของสโตรค, ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด, ความพิการ และการเป็นซ้ำของสโตรค จากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วย ischemic strokes ที่ไม่มีประวัติ atrial fibrillation (AF) มีความเสี่ยงต่ำลงต่อความจำเสื่อมจากการรักษาเชิงป้องกันดังนี้ (1) ยาลดความดันเลือด (relative risk, 0.7 [95% confidence interval, 0.57-0.82] สำหรับยาขับปัสสาวะ; relative risk, 0.8 [95% confidence interval, 0.64-0.98] สำหรับ angiotensin-converting enzyme inhibitors และ relative risk, 0.7 [95% confidence interval, 0.55-0.81] สำหรับการให้ยาร่วมกัน) (2) การรักษาด้วย aspirin ร่วมกับ dipyridamole (relative risk, 0.8 [95% confidence interval, 0.68-1.01]) และ (3) statin (relative risk, 0.9 [95% confidence interval, 0.76-1.06]) เมื่อมีข้อบ่งใช้ทางคลินิก ผลลัพธ์การป้องกันความจำเสื่อมยังพบในผู้ป่วยที่ได้ยาลดความดันเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด และยาลดไขมันร่วมกัน (relative risk, 0.55 [95% confidence interval, 0.40-0.77]) โดยไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างความจำเสื่อมหลังเกิดสโตรคและยาลดความดันเลือดในผู้ป่วย hemorrhagic stroke

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดอย่างเหมาะสมสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงต่อความจำเสื่อมในระยะยาว จึงควรสนับสนุนการเน้นหนักด้านการรักษาที่เหมาะสมสำหรับป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด