การควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัดในผู้ป่วย ACS น้ำตาลในเลือดสูง

การควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัดในผู้ป่วย ACS น้ำตาลในเลือดสูง

JAMA Intern Med. Published online September 9, 2013.

บทความเรื่อง Intensive Glucose Regulation in Hyperglycemic Acute Coronary Syndrome: Results of the Randomized BIOMarker Study to Identify the Acute Risk of a Coronary Syndrome–2 (BIOMArCS-2) Glucose Trial รายงานว่า ปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วย acute coronary syndrome (ACS) ที่นอนโรงพยาบาลสัมพันธ์กับการตายที่สูงขึ้น ขณะที่การศึกษาผลลัพธ์การควบคุมระดับน้ำตาลก็มีผลลัพธ์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นผลจากการกำหนดเป้าระดับน้ำตาลที่ไม่เหมาะสม

นักวิจัยได้ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการควบคุมน้ำตาลแบบเคร่งครัดในผู้ป่วย ACS ซึ่งมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยศึกษาแบบ single-center, prospective, open-label, randomized clinical trial จากโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ นักวิจัยศึกษาจากผู้ป่วย ACS ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดขณะรับเข้าโรงพยาบาลระหว่าง 140-288 mg/dL โดยรวบรวมระหว่าง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และคัดผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องใช้อินซูลินออก ผู้ป่วยที่ตอบรับเข้าร่วมการศึกษามีจำนวน 294 ราย ซึ่ง 93.6% จากจำนวนนี้ได้ทำ percutaneous coronary intervention (PCI)

การแทรกแซงทำโดยการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเคร่งครัดที่ 85-110 mg/dL ด้วยอินซูลินให้ทางหลอดเลือดดำหรือการควบคุมน้ำตาลตามวิธีมาตรฐาน นักวิจัยประเมิน endpoint แบบ intention-to-treat โดย primary endpoint ได้แก่ high-sensitivity troponin T value ที่ 72 ชั่วโมงหลังรับเข้าโรงพยาบาล (hsTropT72) และ secondary endpoints ได้แก่ พื้นที่ใต้เส้นโค้งของ creatine kinase, myocardial band (AUC-CK-MB) และ myocardial perfusion scintigraphy จากการติดตามที่ 6 สัปดาห์

กลุ่มที่ควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัดมีมัธยฐานของ hsTropT72 เท่ากับ 1,197 ng/L (25th and 75th percentiles of distribution, 541-2,296 ng/L) vs 1,354 ng/L (530-3,057 ng/L) ในกลุ่มมาตรฐาน (p = 0.41) และมัธยฐานของ AUC-CK-MB เท่ากับ 2,372 U/L (1,242-5,004 U/L) vs 3,171 U/L (1,620-5,337 U/L) (p = 0.18) ผลต่างด้านมัธยฐานการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจประเมินจาก myocardial perfusion scintigraphy ไม่มีนัยสำคัญ (2% vs 4%) (p = 0.07) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่รุนแรง (< 50 mg/dL) พบได้น้อยและเกิดขึ้นในผู้ป่วย 13 ราย  และพบการตายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเกิดขึ้นที่ติดต่อกันเป็นครั้งที่สองในผู้ป่วย 8 ราย (5.7%) vs 1 ราย (0.7%) (p = 0.04)

การควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัดไม่ได้ลดขนาดกล้ามเนื้อหัวใจตายในผู้ป่วย ACS ที่น้ำตาลในเลือดสูงและรักษาด้วย PCI และยังอาจเป็นอันตราย นักวิจัยได้เสนอแนะให้มีการศึกษาโดยเน้นในผู้ป่วย ACS ซึ่งยังคงมีน้ำตาลในเลือดสูงหลัง PCI และควรประเมินแนวทางอื่นสำหรับการควบคุมน้ำตาลในระดับที่เหมาะสม