ผลปรับวิถีชีวิตต่อ Telomerase และ Telomere ในชายตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากไม่รุนแรง

ผลปรับวิถีชีวิตต่อ Telomerase และ Telomere ในชายตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากไม่รุนแรง

The Lancet Oncology, Early Online Publication, 17 September 2013.

            บทความเรื่อง Effect of Comprehensive Lifestyle Changes on Telomerase Activity and Telomere Length in Men with Biopsy-Proven Low-Risk Prostate Cancer: 5-Year Follow-Up of a Descriptive Pilot Study รายงานว่า telomere ที่สั้นเป็นตัวพยากรณ์ความชราภาพ โรค และการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร และจากที่ก่อนหน้านี้นักวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการปรับวิถีชีวิตเป็นระเวลา 3 เดือน และ telomerase activity ที่มากขึ้นในเซลล์ภูมิคุ้มกันจึงได้ติดตามผู้เข้าร่วมวิจัยต่อเพื่อประเมินผลลัพธ์ระยะยาว

            การติดตามได้เปรียบเทียบผู้ชาย 10 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ซึ่งมีผลตรวจชิ้นเนื้อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแบบไม่รุนแรงและเลือกที่จะติดตามอาการ นักวิจัยรวบรวมผู้เข้าร่วมวิจัยระหว่างปี ค.ศ. 2003-2007 จากการศึกษาก่อนหน้านี้และคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์เดียวกัน ผู้ชายในกลุ่มแทรกแซงได้ปฏิบัติตามแผนปรับวิถีชีวิต (อาหาร กิจกรรม จัดการความเครียด และการสนับสนุนด้านสังคม) และผู้ชายในกลุ่มควบคุมได้เฝ้าติดตามอาการอย่างเดียว นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างเลือดที่ 5 ปี และเปรียบเทียบ relative telomere length และ telomerase enzymatic activity ต่อจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตกับข้อมูลที่เส้นฐาน และประเมินความสัมพันธ์กับระดับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

            มัธยฐานของ relative telomere length ที่เพิ่มขึ้นจากเส้นฐานเท่ากับ 0.06 telomere to single-copy gene ratio (T/S) units (IQR -0.05 ถึง 0.11) ในกลุ่มแทรกแซง แต่ลดลงในกลุ่มควบคุม (-0.03 T/S units, -0.05 ถึง 0.03, difference p = 0.03) เมื่อนำข้อมูลจากทั้งสองกลุ่มมารวมกันพบว่า การเกาะติดกับการปรับวิถีชีวิตสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ relative telomere length หลังปรับตามอายุและความยาวของการติดตาม (T/S units เพิ่มขึ้น 0.07; 95% CI, 0.02-0.12, p = 0.005 สำหรับแต่ละ percentage point ที่เพิ่มขึ้นในคะแนนการเกาะติดการปรับวิถีชีวิต) ที่ 5 ปี พบว่า telomerase activity ลดลงจากเส้นฐาน 0.25 (-2.25 ถึง 2.23) units ในกลุ่มแทรกแซงวิถีชีวิต และ 1.08 (-3.25 ถึง 1.86) units ในกลุ่มควบคุม (p = 0.64) และไม่สัมพันธ์กับการเกาะติดปรับวิถีชีวิต (relative risk 0.93; 95% CI, 0.72-1.20, p = 0.57)

            การปรับวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ relative telomere length หลังการติดตาม 5 ปี เทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ดี การศึกษานี้ยังคงเป็นการศึกษาขนาดเล็กและจำเป็นต้องมีการศึกษาขนาดใหญ่เพื่อยืนยันผลลัพธ์นี้