ผลลัพธ์ควบคุมอาหารและออกกำลังกายต่อข้อเข่าเสื่อม
JAMA. 2013;310(12):1263-1273.
บทความเรื่อง Effects of Intensive Diet and Exercise on Knee Joint Loads, Inflammation, and Clinical Outcomes Among Overweight and Obese Adults with Knee Osteoarthritis: The IDEA Randomized Clinical Trial รายงานว่า โรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis - OA) อันเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดเรื้อรังและความพิการมีสาเหตุจากปัจจัยด้านชีวกลศาสตร์ และการอักเสบและกำเริบขึ้นจากโรคอ้วน นักวิจัยจึงศึกษาว่าการลด ≥ 10% ของน้ำหนักตัวจากการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย หรือควบคุมอาหารอย่างเดียวสามารถฟื้นฟูผลลัพธ์ทางกลไกและผลลัพธ์ทางคลินิกได้ดีกว่าการออกกำลังกายอย่างเดียวหรือไม่
นักวิจัยศึกษาแบบ single-blind ระยะ 18 เดือนที่มหาวิทยาลัย Wake Forest University ระหว่างเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 และเมษายน ค.ศ. 2011 การปรับอาหารและออกกำลังกายทำที่ศูนย์วิจัยโดยกลุ่มออกกำลังกายสามารถเลือกกลับไปทำที่บ้าน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ใหญ่อายุมากที่น้ำหนักเกินและอ้วน 454 ราย (อายุ ≥ 55 ปี และมีดัชนีมวลกาย 27-41) ซึ่งมีอาการปวดและมีผลเอกซเรย์ระบุว่าเป็นข้อเข่าเสื่อม
การแทรกแซงประกอบด้วย การลดน้ำหนักอย่างเคร่งครัดด้วยการคุมอาหารร่วมกับออกกำลังกาย การลดน้ำหนักอย่างเคร่งครัดด้วยการคุมอาหาร หรือการออกกำลังกาย โดย mechanistic primary outcomes ประกอบด้วยแรงอัดในข้อเข่าและระดับ plasma IL-6 และ secondary clinical outcomes ประกอบด้วยรายงานอาการปวด (range, 0-20), การทำงาน (range, 0-68), การเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (range, 0-100)
ผู้ป่วย 399 ราย (88%) เข้าร่วมการศึกษาจนเสร็จสมบูรณ์ น้ำหนักที่ลดลงเฉลี่ยในกลุ่มคุมอาหารและออกกำลังกายเท่ากับ 10.6 กิโลกรัม (11.4%) กลุ่มควบคุมอาหารเท่ากับ 8.9 กิโลกรัม (9.5%) และสำหรับกลุ่มออกกำลังกายเท่ากับ 1.8 กิโลกรัม (2.0%) หลังจาก 18 เดือนพบว่า แรงอัดในข้อเข่ามีระดับต่ำกว่าในกลุ่มที่ควบคุมอาหาร (mean, 2,487 N; 95% CI, 2,393-2,581) เทียบกับกลุ่มออกกำลังกาย (2,687 N; 95% CI, 2,590-2,784, pairwise difference [Δ]exercise vs diet = 200 N; 95% CI, 55-345; p = 0.007) ความเข้มข้นของ IL-6 อยู่ที่ระดับต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมอาหารและออกกำลังกาย (2.7 pg/mL; 95% CI, 2.5-3.0) และกลุ่มควบคุมอาหาร (2.7 pg/mL; 95% CI, 2.4-3.0) เทียบกับกลุ่มออกกำลังกาย (3.1 pg/mL; 95% CI, 2.9-3.4; Δexercise vs diet + exercise = 0.39 pg/mL; 95% CI, -0.03 ถึง 0.81; p = 0.007; Δexercise vs diet = 0.43 pg/mL; 95% CI, 0.01-0.85, p = 0.006) โดยกลุ่มควบคุมอาหารและออกกำลังกายมีอาการปวดน้อยกว่า (3.6; 95% CI, 3.2-4.1) และการทำงานที่ดีกว่า (14.1; 95% CI, 12.6-15.6) เทียบกับกลุ่มควบคุมอาหาร (4.8; 95% CI, 4.3-5.2) และกลุ่มออกกำลังกาย (4.7; 95% CI, 4.2-5.1, Δexercise vs diet + exercise = 1.02; 95% CI, 0.33-1.71; Ppain = 0.004; 18.4; 95% CI, 16.9-19.9; Δexercise vs diet + exercise, 4.29; 95% CI, 2.07-6.50; Pfunction < 0.001) และกลุ่มที่ควบคุมอาหารร่วมกับออกกำลังกาย (44.7; 95% CI, 43.4-46.0) ยังมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีกว่ากลุ่มออกกำลังกายเช่นกัน (41.9; 95% CI, 40.5-43.2; Δexercise vs diet + exercise = -2.81; 95% CI, -4.76 ถึง -0.86; p = 0.005)
ข้อมูลจากผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นข้อเข่าเสื่อมซึ่งมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนชี้ว่า หลังจากผ่านไป 18 เดือน กลุ่มที่ควบคุมอาหารร่วมกับออกกำลังกายและกลุ่มควบคุมอาหาร ลดน้ำหนักลงได้มากกว่าและมีระดับ IL-6 ลดลงมากกว่ากลุ่มออกกำลังกาย นอกจากนี้กลุ่มที่ควบคุมอาหารยังมีแรงอัดในข้อเข่าลดลงมากกว่ากลุ่มออกกำลังกาย