ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลหลัง Neoadjuvant Chemotherapy ในผู้ป่วย Node-Positive Breast Cancer
JAMA. 2013;310(14):1455-1461.
บทความเรื่อง Sentinel Lymph Node Surgery after Neoadjuvant Chemotherapy in Patients with Node-Positive Breast Cancer: The ACOSOG Z1071 (Alliance) Clinical Trial รายงานว่า การตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลให้ผลการระบุระยะที่เชื่อถือได้และมีผลกระทบน้อยกว่าการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแบบ clinically node-negative (cN0) อย่างไรก็ดี การใช้วิธีผ่าตัด SLN สำหรับระบุระยะหลังทำเคมีบำบัดในผู้ป่วยที่เป็น node-positive cN1 breast cancer ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด เนื่องจากมีอัตราผลลบหลอกที่สูงจากหลายการศึกษาก่อนหน้านี้
การศึกษา American College of Surgeons Oncology Group (ACOSOG) Z1071 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน false-negative rate (FNR) สำหรับการตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล ภายหลังทำเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผลตรวจยืนยันว่าเป็น cN1 โดยศึกษาจากผู้ป่วยในโรงพยาบาล 136 แห่ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นมะเร็งเต้านมระยะ T0 ถึง T4, N1 ถึง N2 และ M0 และได้รับ neoadjuvant chemotherapy หลังจากทำเคมีบำบัดแล้ว ผู้ป่วยได้ตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลและเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด โดยฉีดสารสีน้ำเงิน (isosulfan blue หรือ methylene blue) และ radiolabeled colloid mapping agent
นักวิจัยกำหนดให้ primary endpoint ได้แก่ FNR ของการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลหลังเคมีบำบัดในผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ cN1 และประเมินแนวโน้มที่ FNR ในผู้ป่วยซึ่งตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลสองจุดหรือมากกว่าสูงเกิน 10% อันเป็นอัตราที่คาดหมายสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลและเป็นมะเร็งเต้านมแบบ cN0
มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการศึกษา 756 ราย ซึ่งจากผู้ป่วยมะเร็ง cN1 ที่ศึกษาได้ 663 ราย มีผู้ป่วย 649 ราย ได้ทำเคมีบำบัดหลังตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลและเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด ขณะที่ไม่สามารถระบุต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลในผู้ป่วย 46 ราย (7.1%) และผู้ป่วย 78 ราย (12.0%) ตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลออกเพียงจุดเดียว จากการศึกษาไม่พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ในผู้ป่วย 215 ราย จาก 525 รายที่เหลือซึ่งตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลออกสองจุดหรือมากกว่า โดยมีค่า pathological complete nodal response เท่ากับ 41.0% (95% CI, 36.7-45.3%) ในผู้ป่วย 39 รายไม่พบมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล แต่พบจากต่อมน้ำเหลืองจากการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ โดยมีค่า FNR เท่ากับ 12.6% (90% Bayesian credible interval, 9.85-16.05%)
ข้อมูลจากผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ cN1 ซึ่งได้รับ neoadjuvant chemotherapy และตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลสองจุดหรือมากกว่าพบว่า FNR ไม่ถึง 10% หรือต่ำกว่า ซึ่งจากผลลัพธ์นี้ทำให้การปรับปรุงแนวทางการเลือกผู้ป่วยมีความจำเป็นสำหรับสนับสนุนการตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลในฐานะทางเลือกแทนการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด