อาการหลงลืมระยะยาวหลังป่วยหนัก

อาการหลงลืมระยะยาวหลังป่วยหนัก

N Engl J Med 2013;369:1306-1316.

            บทความเรื่อง Long-Term Cognitive Impairment after Critical Illness รายงานว่า ผู้ที่รอดชีวิตหลังการเจ็บป่วยรุนแรงมักประสบปัญหาหลงลืมที่มีอาการในระยะยาว นักวิจัยจึงศึกษาผู้ใหญ่ที่เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลวหรือช็อกระหว่างการรักษาในไอซียูเพื่อประเมินการสับสนเฉียบพลันในโรงพยาบาล และประเมินการรับรู้โดยรวมและการบริหารจัดการที่ 3 เดือนและ 12 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาลโดยใช้ Repeatable Battery for the Assessment of Neuropsychological Status (คะแนนเฉลี่ยปรับตามอายุประชากร [± SD] เท่ากับ 100 ± 15 โดยคะแนนที่ต่ำลงชี้ว่ามีการรับรู้โดยรวมที่แย่ลง) และ Trail Making Test, Part B (คะแนนเฉลี่ยปรับตามอายุ, เพศ และการศึกษาของประชากรเท่ากับ 50 ± 10 โดยคะแนนที่ต่ำลงชี้ว่ามีการบริหารจัดการที่แย่ลง) ความสัมพันธ์ระหว่างระยะของอาการสับสนเฉียบพลันและการใช้ยาระงับประสาทหรือยาระงับปวดกับผลลัพธ์ประเมินด้วย linear regression ปรับตามตัวแปรรบกวนที่มีศักยภาพ

            จากผู้ป่วย 821 ราย พบว่า 6% มีอาการหลงลืมที่เส้นฐาน และพบอาการสับสนเฉียบพลันใน 74% ระหว่างพักรักษายังโรงพยาบาล ที่ 3 เดือนพบว่า 40% ของผู้ป่วยมีคะแนนการรับรู้โดยรวมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 1.5 SD (คล้ายกับคะแนนในผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองระดับปานกลาง) และ 26% มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2 SD (คล้ายกับคะแนนในผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างอ่อน) ภาวะบกพร่องเกิดขึ้นทั้งในผู้ป่วยอายุมากและอายุน้อย และมีอาการคงที่ โดยมีสัดส่วน 34% และ 24% จากผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้ประเมินที่ 12 เดือน ซึ่งมีคะแนนใกล้เคียงกับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองระดับปานกลาง และผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างอ่อน ระยะของอาการสับสนเฉียบพลันที่นานขึ้นสัมพันธ์โดยอิสระกับการรับรู้โดยรวมที่แย่ลงที่ 3 และ 12 เดือน (p = 0.001 และ p = 0.04, respectively) และการบริหารจัดการที่แย่ลงที่ 3 และ 12 เดือน (p = 0.004 และ p = 0.007, respectively) ขณะที่ไม่พบว่าการใช้ยาระงับประสาทหรือยาระงับปวดสัมพันธ์กับอาการหลงลืมที่ 3 และ 12 เดือน 

            ผู้ป่วยในไอซียูมีความเสี่ยงสูงต่ออาการหลงลืมระยะยาว ซึ่งระยะของอาการสับสนเฉียบพลันในโรงพยาบาลที่นานขึ้นสัมพันธ์กับคะแนนการรับรู้โดยรวม และการบริหารจัดการที่แย่ลงที่ 3 และ 12 เดือน