โรคเบาหวานและความเสี่ยงพิการทางกายในผู้ใหญ่
Lancet Diabetes Endocrinol. 2013;1(2):106-114.
บทความเรื่อง Diabetes and Risk of Physical Disability in Adults: A Systematic Review and Meta-Analysis รายงานว่า โรคเบาหวานอาจทำให้ความเสี่ยงต่อความพิการสูงขึ้น 2 เท่า โดยที่ความพิการมีความสำคัญในฐานะมาตรวัดสุขภาพ ขณะที่การประมาณความเสี่ยงต่อความพิการจากโรคเบาหวานก็มีความจำเป็นท่ามกลางสถานการณ์การขยายตัวของโรคเบาหวานทั่วโลก
นักวิจัยดำเนินการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis เพื่อประมาณความเสี่ยงต่อความพิการจากโรคเบาหวานโดยสืบค้นจากฐานข้อมูล Ovid, Medline, Embase, Cochrane Library และ Cumulative Index to Nursing and Allied Health Literature จนถึงวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2012 และศึกษาจากงานวิจัยในผู้ใหญ่ซึ่งเปรียบเทียบความเสี่ยงต่อความพิการประเมินจากกิจวัตรประจำวัน, กิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง หรือการเคลื่อนไหวในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและไม่เป็นโรคเบาหวาน และตัดงานวิจัยที่ศึกษาจากกลุ่มย่อยที่เป็นโรคจำเพาะ หรือศึกษาจากผู้ที่พักอยู่ในสถานสงเคราะห์ นักวิจัยได้บันทึกข้อมูลด้านลักษณะประชากร, การตรวจพบโรคเบาหวาน (โดยแพทย์หรือรายงานโดยผู้ป่วย), องค์ประกอบและนิยามของความพิการ และค่าประมาณความเสี่ยงต่อความพิการ โดยคำนวณค่าประมาณรวมตามประเภทของความพิการและการประมาณความเสี่ยง (odds ratio [OR] หรือ risk ratio [RR])
ผลลัพธ์จาก systematic review และ meta-analysis ชี้ว่า โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อความพิการทั้งด้านการเคลื่อนไหว (15 studies; OR 1.71, 95% CI 1.53-1.91; RR 1.51, 95% CI 1.38-1.64), กิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง (ten studies; OR 1.65, 95% CI 1.55-1.74) และกิจวัตรประจำวัน (16 studies; OR 1.82, 95% CI 1.63-2.04; RR 1.82, 95% CI 1.40-2.36)
โรคเบาหวานสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของความเสี่ยงความพิการทางกาย แนวทางการส่งเสริมการชราภาพโดยมีสุขภาพดี จึงควรรับมือกับความเสี่ยงนี้ด้วยการป้องกันและการจัดการโรคเบาหวาน