มลพิษทางอากาศก่อปัญหาน้ำหนักแรกเกิด
The Lancet Respiratory Medicine, Early Online Publication, 15 October 2013.
บทความเรื่อง Ambient Air Pollution and Low Birthweight: A European Cohort Study (ESCAPE) รายงานผลการศึกษาผลลัพธ์การได้รับมลพิษทางอากาศในบรรยากาศในระดับต่ำระหว่างตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักแรกเกิด ตามที่มีข้อมูลชี้ว่ามลพิษทางอากาศในบรรยากาศส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพทางเดินหายใจในวัยเด็ก
นักวิจัยรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยในแม่และเด็ก 14 ชิ้นซึ่งมีขึ้นในยุโรป ครอบคลุมผู้หญิง 74,178 ราย ซึ่งเป็นครรภ์เดี่ยวคลอดระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 ถึง 2 มิถุนายน ค.ศ. 2011 และมีข้อมูลน้ำหนักแรกเกิดทารก อายุครรภ์ และเพศของทารก ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำสำหรับทารกคลอดครบกำหนด (น้ำหนัก < 2,500 g โดยคลอดหลังอายุครรภ์ 37 สัปดาห์) ความหนาแน่นเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเชิงอากาศพลศาสตร์น้อยกว่า 2.5 μm (PM 2.5), น้อยกว่า 10 μm (PM 10) และระหว่าง 2.5 μm และ 10 μm ระหว่างตั้งครรภ์ประเมินจากที่อยู่ของแม่ด้วย land-use regression model ที่ปรับชั่วคราว รวมถึงค่าการดูดกลืนฝุ่น PM 2.5 และความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และไนโตรเจนออกไซด์ นอกจากนี้ยังได้สำรวจความหนาแน่นของการจราจรบนถนนใกล้เคียงและปริมาณจราจรรวม และคำนวณผลโดยรวมด้วย random-effects models
ความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก 5 μg/m3 ระหว่างตั้งครรภ์สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อน้ำหนักแรกเกิดต่ำในทารกคลอดครบกำหนด (adjusted odds ratio [OR] 1.18, 95% CI 1.06-1.33) ความเสี่ยงที่สูงขึ้นยังพบจากเกณฑ์ฝุ่น PM 2.5 ระดับปัจจุบันของสหภาพยุโรปซึ่งจำกัดไม่เกิน 25 μg/m3 (หรือสำหรับ 5 μg/m3 ที่เพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่ได้รับฝุ่นไม่เกิน 20 μg/m3 1.41, 95% CI 1.20-1.65) นอกจากนี้ฝุ่น PM 10 (หรือสำหรับ 10 μg/m3 ที่เพิ่มขึ้น 1.16, 95% CI 1.00-1.35), NO2 (หรือสำหรับ 10 μg/m3 ที่เพิ่มขึ้น 1.09, 1.00-1.19) และความหนาแน่นการจราจรบนถนนใกล้เคียง (หรือสำหรับปริมาณยวดยานที่เพิ่มขึ้น 5,000 คันต่อวัน 1.06, 1.01-1.11) ยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อน้ำหนักแรกเกิดต่ำด้วย โดยพบว่าการลดความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 ลงมาที่ 10 μg/m3 ระหว่างตั้งครรภ์สัมพันธ์กับการลดลง 22% (95% CI 8-33%) ของน้ำหนักแรกเกิดต่ำ
การได้รับมลพิษทางอากาศในบรรยากาศและไอเสียจากการจราจรระหว่างตั้งครรภ์สัมพันธ์กับปัญหาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งการลดมลพิษทางอากาศในเมืองจะส่งผลดีอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดปัญหาทารกน้ำหนักแรกเกิดต่ำ่ลดลงตามเป้า างไรก็ดีข้อมูลการรักษาของ