ความเสี่ยงมะเร็งในเด็กช่วยการเจริญพันธุ์

ความเสี่ยงมะเร็งในเด็กช่วยการเจริญพันธุ์

N Engl J Med 2013;369:1819-1827.

            บทความเรื่อง Cancer Risk among Children Born after Assisted Conception รายงานผลการศึกษาความเสี่ยงโรคมะเร็งในเด็กที่ปฏิสนธิด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ โดยเปรียบเทียบข้อมูลเด็กที่เกิดในอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1992-2008 ด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันธ์ุและไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้บริจาคกับข้อมูลจากทะเบียน United Kingdom National Registry of Childhood Tumours เพื่อติดตามตัวเลขเด็กที่เป็นมะเร็งก่อนอายุ 15 ปี นักวิจัยได้เทียบอัตราโรคมะเร็งในเด็กกับอัตราโรคมะเร็งในประชากรอังกฤษในช่วงเวลาเดียวกัน โดยจำแนกตาม mediating และ moderating factors เช่น อายุ อายุขณะตรวจพบ น้ำหนักแรกเกิด คลอดเดี่ยวหรือคลอดแฝด ลำดับการเกิด อายุของพ่อแม่ วิธีช่วยการเจริญพันธ์ุ และสาเหตุที่มีบุตรยาก

            กลุ่มที่ศึกษาประกอบด้วยเด็ก 106,013 คน ซึ่งคลอดหลังการช่วยการเจริญพันธ์ุ (700,705 person-years of observation) และระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามเท่ากับ 6.6 ปี โดยรวมพบมะเร็ง 108 ราย เทียบกับตัวเลขคาดหมาย 109.7 ราย (standardized incidence ratio, 0.98; 95% confidence interval [CI], 0.81-1.19; p = 0.87) การช่วยเจริญพันธ์ุไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งระบบประสาท มะเร็งจอประสาทตา มะเร็งระบบประสาทส่วนกลาง มะเร็งไต หรือมะเร็งจากเซลล์เพศ เทคนิคการช่วยเจริญพันธ์ุสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อมะเร็งตับ (standardized incidence ratio, 3.64; 95% CI, 1.34-7.93; p = 0.02; absolute excess risk, 6.21 cases per 1 million person-years) และมะเร็งกล้ามเนื้อลาย (standardized incidence ratio, 2.62; 95% CI, 1.26-4.82; p = 0.02; absolute excess risk, 8.82 cases per 1 million person-years) โดยพบมะเร็งตับในเด็ก 6 ราย และมะเร็งกล้ามเนื้อลายในเด็ก 10 ราย แต่ความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อมะเร็งตับไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักแรกเกิดต่ำ

            ข้อมูลจากการศึกษาไม่พบการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงมะเร็งโดยรวมในเด็กชาวอังกฤษที่เกิดหลังช่วยการเจริญพันธ์ุระหว่างระยะการศึกษา 17 ปี และแม้พบความเสี่ยงสูงขึ้นต่อมะเร็งตับและมะเร็งกล้ามเนื้อลาย แต่ความเสี่ยงสัมบูรณ์อยู่ในระดับต่ำ