ผลลัพธ์ลดความดันเลือดโดยเร็วต่อการตายและพิการในสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

ผลลัพธ์ลดความดันเลือดโดยเร็วต่อการตายและพิการในสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

JAMA. Published online November 17, 2013.

บทความเรื่อง Effects of Immediate Blood Pressure Reduction on Death and Major Disability in Patients with Acute Ischemic Stroke: The CATIS Randomized Clinical Trial รายงานว่า เป็นที่ทราบกันว่าการลดความดันเลือดมีประโยชน์ต่อการป้องกันสโตรค แต่ผลของการลดความดันเลือดในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันยังไม่มีรายงานแน่ชัด นักวิจัยจึงศึกษาว่าการลดความดันเลือดโดยเร็วในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันจะสามารถลดการตายและพิการรุนแรงที่ 14 วัน หรือออกจากโรงพยาบาลหรือไม่ โดยศึกษาจากผู้ป่วย 4,071 รายที่เป็น non-thrombolysed ischemic stroke ภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการและมีความดันซิสโตลิกสูงขึ้น และรวบรวมผู้ป่วยจากโรงพยาบาล 26 แห่งในประเทศจีนระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 2013

            นักวิจัยสุ่มให้ผู้ป่วย (n = 2,038) ได้รับยาดลดความดันเลือด (ลดความดันซิสโตลิก 10-25% ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการสุ่ม และให้ความดันเลือดต่ำกว่า 140/90 mmHg ภายใน 7 วัน และรักษาความดันเลือดให้คงที่ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล) หรือหยุดยาลดความดันเลือด (กลุ่มควบคุม) ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล (n = 2,033)

            ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ ผลรวมของการตายและพิการรุนแรง (modified Rankin Scale score ≥ 3) ที่ 14 วัน หรือออกจากโรงพยาบาล

            ความดันเลือดซิสโตลิกเฉลี่ยลดลงจาก 166.7 mmHg มาที่ 144.7 mmHg (-12.7%) ภายใน 24 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้รับยาลดความดันเลือด และลดลงจาก 165.6 mmHg มาที่ 152.9 mmHg (-7.2%) ในกลุ่มควบคุมภายใน 24 ชั่วโมงหลังการสุ่ม (difference, -5.5% [95% CI, -4.9 ถึง -6.1%]; absolute difference, -9.1 mmHg [95% CI, -10.2 ถึง -8.1]; p < 0.001) ความดันเลือดซิสโตลิกเฉลี่ยเท่ากับ 137.3 mmHg ในกลุ่มที่ได้รับยาลดความดันเลือดและ 146.5 mmHg ในกลุ่มควบคุมที่ 7 วันหลังการสุ่ม (difference, -9.3 mmHg [95% CI, -10.1 ถึง -8.4]; p < 0.001) ผลลัพธ์หลักไม่ได้แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม (683 events [antihypertensive treatment] vs 681 events [control]; odds ratio, 1.00 [95% CI, 0.88-1.14]; p = 0.98) ที่ 14 วันหรือออกจากโรงพยาบาล ขณะที่ secondary composite outcome ของการตายและพิการรุนแรงจากการติดตามหลังการรักษาที่ 3 เดือนไม่ได้แตกต่างกัน (500 events [antihypertensive treatment] vs 502 events [control]; odds ratio, 0.99 [95% CI, 0.86-1.15]; p = 0.93)

            การลดความดันเลือดด้วยยาลดความดันเลือดในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันไม่ได้ลดแนวโน้มการตายหรือพิการรุนแรงที่ 14 วันหรือออกจากโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับการไม่ให้ยาลดความดันเลือด