Metformin สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจที่ไม่มีเบาหวาน
The Lancet Diabetes & Endocrinology, Early Online Publication, 7 November 2013.
บทความเรื่อง Metformin for Non-Diabetic Patients with Coronary Heart Disease (The CAMERA Study): A Randomised Controlled Trial รายงานว่า metformin ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยไม่เป็นผลจากการลดน้ำตาลในเลือด นักวิจัยจึงประเมินผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของ metformin ในผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยที่ได้รับ statin ซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดและมีรอบเอวหนา และสุ่มให้ผู้ป่วยได้รับ metformin (850 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง) หรือยาหลอก โดย primary endpoint ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของ mean distal carotid intima-media thickness (cIMT) ตลอด 18 เดือนในกลุ่ม modified intention-to-treat population และ secondary endpoints ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงของคะแนน carotid plaque score (ใน 6 ตำแหน่ง), การวัดค่าน้ำตาลในเลือด (HbA1c, ค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร และความเข้มข้นอินซูลิน และผลHomeostasis Model Assessment of Insulin Resistance [HOMA-IR]) และระดับไขมัน, high sensitivity C-reactive protein และ tissue plasminogen activator
นักวิจัยตรวจคัดกรองผู้ป่วย 356 ราย และศึกษาจากผู้ป่วย 173 ราย (86 รายในกลุ่ม metformin และ 87 รายในกลุ่มยาหลอก) ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 63 ปี และมี mean cIMT ที่พื้นฐานเท่ากับ 0.717 มิลลิเมตร (SD 0.129) และ mean carotid plaque score เท่ากับ 2.43 (SD 1.55) การเพิ่มขึ้นของ cIMT ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม (slope difference 0.007 mm per year, 95% CI -0.006 ถึง 0.020; p = 0.29) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของคะแนน carotid plaque ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (0.01 per year, 95% CI -0.23 ถึง 0.26; p = 0.92) ผู้ป่วยที่ได้รับยา metformin มีค่า HbA1c, insulin, HOMA-IR และ tissue plasminogen activator ต่ำกว่าเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก แต่ไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญด้านคอเลสเตอรอลรวม, HDL-cholesterol, non-HDL-cholesterol, triglycerides, high sensitivity C-reactive protein หรือน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 138 ครั้งในผู้ป่วย 64 รายในกลุ่ม metformin เทียบกับ 120 ครั้งในผู้ป่วย 60 รายในกลุ่มยาหลอก โดยพบอาการท้องร่วง วิงเวียน และอาเจียนบ่อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับ metformin เทียบกับยาหลอก (28 vs 5)
ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า metformin ไม่มีผลต่อ cIMT และมีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อตัวบ่งชี้โรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน แต่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และได้รับยา statin จึงจำเป็นต้องมีหลักฐานที่มากขึ้นก่อนที่จะแนะนำการใช้ metformin เพื่อประโยชน์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนกลุ่มนี้